วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิชาศิลธรรม

การกระทำอันเป็นอนุโลมโจรกรรม มี 3 อย่าง
1. สมโจร สนับสนุนโจร
2. ปอกลอก คบเขาเพื่อปอกลอกเอาทรัพย์
3. รับสินบน รับสินจ้างเพื่อกระทำผิดหน้าที่
การกระทำอันเป็นฉายาโจรกรรม มี 2 อย่าง
1. ผลาญ ทำลายทรัพย์ของผู้อื่น (ไม่ถือเอาเป็นของตน)
2. หยิบฉวย ถือวิสาสะเกินขอบเขต
มุสาวาท ทำให้ศีลขาด มีอยู่ 7 วิธี
1. ปด ได้แก่ โกหกชัด ๆ ไม่รู้ว่ารู้
2. ทนสาบาน คือ ทนสาบานตัว เพื่อให้คนอื่นหลงเชื่อ
3. ทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ การอวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์เกินเหตุเกินความจริง
4. มารยา แสดงอาการหลอกคนอื่น
5. ทำเลศ คือ ใจอยากพูดเท็จ แต่ทำเป็นเล่นสำนวน พูดคลุมเครือ
6. เสริมความ เรื่องจริงมีแต่น้อย ทำเรื่องเล็กให้ใหญ่
7. อำความ ทำเรื่องใหญ่ให้เล็ก
อนุโลมมุสา ทำให้ศีลด่างพร้อย คือ เรืองที่พูดนั้นไม่จริง แต่ผู้พูดก็มิได้มุ่งจะให้ผู้ฟังหลงเชื่อ
ปฏิสวะ ทำให้ศีลด่างพร้อย ได้แก่ การรับคำของคนอื่นด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจไม่ทำตามที่รับนั้น โดยที่ตนยังพอจะทำตามคำรับได้อยู่
การดื่มสุราที่ทำให้ศีลขาด จะต้องพร้อมด้วยองค์ 4 ถ้าไม่ครบศีลก็ไม่ขาด
1. น้ำที่ดื่มนั้นเป็นน้ำเมา
2. จิตคิดจะดื่มน้ำเมา
3. พยายามดื่มน้ำเมา
4. น้ำเมานั้นล่วงลำคอลงไป
กิเลส 3 ตระกูล
โลภะ ความอยากได้ในทางทุจริต
โทสะ ความคิดประทุษร้าย
โมหะ ความหลง
บุญกิริยาวัตถุ คือ วิธีทำบุญ มี 3 วิธี คือ
1. ทาน การให้
2. ศีล การรักษากายวาจาให้ปรกติ
3. ภาวนา การอบรมจิตใจ
สังคหวัตถุ 4 คือ ธรรมะเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจคน
ทาน คือ การให้ปันของ ๆ คน แก่คนที่ควรให้เป็น มี 2 อย่าง
- อามิสทาน ให้ด้วยวัตถุสิ่งของ
- ธรรมทาน ให้ธรรมะเป็นคติเตือนใจและขวัญกำลังใจ
ปิยวาจา คือ เจรจาถ้อยคำที่น่ารัก
อัตถจริยา คือ บำเพ็ญประโยชน์
สมานัตตา คือ วางตัวเหมาะสม
ลักษณะของคำหยาบ
คำด่า ได้แก่ พูดกดให้เขาต่ำลง
ประชด ได้แก่ พูดยกตนให้สูงเกินตัว
กระทบ ได้แก่ พูดเลียบเคียงให้เจ็บใจ
แดกดัน ได้แก่ พูดด้วยเจตนาจะแดกดัน
สบถ ได้แก่ พูดเข่นฆ่าน่าสยอง
คำต่ำ ได้แก่ ใช้คำที่สังคมถือว่าต่ำทราม
ฆาราวาสธรรม 4 คือ ธรรมสำหรับการครองชีวิตของคฤหัสต์
สัจจะ คือ ความจริง ความตรง ความแท้
ทมะ คือ ความฝึก ความข่ม ความหยุด
ขันติ คือ ทนลำบาก ทนเจ็บกาย ทนเจ็บใจ ทนอำนาจกิเลส
จาคะ คือ สละวัตถุ สละอารมณ์
การสร้างตัว หรือการรักษาทรัพย์ คือการจัดการเศรษฐกิจให้กับตัวเอง เรียกว่า “ทิฎฐิธัมมิกัตถประโยชน์ 4”
1. อุฏฐานสัมปทา คือ มีความขยันหมั่นเพียร
2. อารักขสัมปทา คือ การถึงพร้อมด้วยการรักษาทรัพย์และประหยัด
3. กัลยาณมิตตตา คือ คบหาคนดีเป็นมิตร
4. สมชีวิตา คือ การครองชีพเหมาะสม เลี้ยงชีพแต่พอดี รู้จักกำหนดรายได้ และรายจ่าย
ความสุขสมบูรณ์ของผู้ครองเรือน มี 4 อย่าง
อัตถิสุข คือ สุขเกิดจากการมีทรัพย์
ปริโภคสุข คือ สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์
อนณสุข คือ สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้
อนวัชชสุข คือ สุขเกิดจากการทำงานไม่มีโทษ (มีความสำคัญที่สุด)
การทำพลีกรรม (การเสียสละ) 5 อย่าง
1. ญาติพลี สงเคราะห์ญาติ
2. อติถิพลี ต้อนรับแขก
3. ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
4. ราชพลี ถวายหลวง เช่น เสียภาษีอากร
5. เทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา
ทิศ 6
1. ปุรัตถิมทิศ คือ ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดามารดา
2. ทักขิณทิศ คือทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครู อาจารย์
3. ปัจฉิมทิศ คือ ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ บุตร ภรรยา
4. อุตตรทิศ คือ ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตร สหาย
5. เหฏฐิมทิศ คือ ทิศเบื้องต่ำ ได้แก่ ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกจ้าง
6. อุปริมทิศ คือ ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์
มิตรแท้ 4 จำพวก
มิตรอุปการะ
- ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
- ป้องกันทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
- เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้
- เมื่อมีธุระออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
- ขยายความลับของตนแก่เพื่อน
- ปิดความลับของเพื่อนไม่ให้แพร่งพราย
- ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ
- แม้ชีวิต ก็อาจสละแทนได้
มิตรแนะประโยชน์
- ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว
- แนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี
- ให้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
- บอกทางสวรรค์ให้
มิตรมีความรักใคร่
- ทุกข์ ๆ ด้วย
- สุข ๆ ด้วย
- โต้เถียงคนที่พูดติเตียนเพื่อน
- รับรองคนที่พูดสรรเสริญเพื่อน
มิตรเทียม 4 จำพวก
คนปอกลอก
- คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
- เสียให้น้อยคิดเอาให้มาก
- เมื่อมีภัยถึงตัวจึงรับทำกิจให้เพื่อน
- คบเพื่อน เพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว
คนดีแต่พูด
- เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย
- อ้างเอาของที่ไม่มีมาปราศรัย
- สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้
- ออกปากพึ่งไม่ได้
คนหัวประจบ
- จะทำชั่วก็คล้อยตาม
- จะทำดีก็คล้อยตาม
- ต่อหน้าว่าสรรเสริญ
- ลับหลังตั้งนินทา
คนชักชวนในทางฉิบหาย
- ชักชวนดื่มน้ำเมา
- ชักชวนเที่ยวกลางคืน
- ชักชวนให้มัวเมาในการเล่น
- ชักชวนเล่นการพนัน
การคบคน
มืดมา มืดไป คือ คนเกิดมาในตระกูลทาส ไม่มีศีลธรรม เจริญเติบโตอยู่กับคนพาล มีอุปนิสัยเช่นนั้น กลายเป็นคนพาล
มืดมา สว่างไป คือ คนเกิดมาในตระกูลคนพาล แต่ได้สิ่งแวดล้อมดี คบหาสมาคมกับบัณฑิต ในที่สุดกลายเป็นคนดี
สว่างมา มืดไป คือ คนเกิดในตระกูลมีศีลธรรม แต่คบคนพาล ถูกชักนำไปทางชั่ว ในที่สุดกลายเป็นคนชั่ว
สว่างมา สว่างไป คือ บุคคลที่ดี มีความเจริญรุ่งเรือง สว่างไสวตลอดเวลา
ท้าวจตุโลกบาล คือ เทวดารักษาโลกมีประจำอยู่ 4 ทิศ
1. ท้าวธตรฐ ประจำทิศตะวันออก
2. ท้าววิรูปักข์ ประจำทิศตะวันตก
3. ท้าวกุเวร ประจำทิศเหนือ
4. ท้าววิรุฬหก ประจำทิศใต้
ธรรมที่คุ้มครองโลกนั้น เรียกว่า “โลกปาลธรรม” มี 2 อย่าง
1. หิริ ความละอายแก่ใจ ละอายต่อการทำชั่ว
2. โอตตัปปะ ความเกรงกลัว เกรงกลัวต่อความชั่ว
แขนงของวัฒนธรรม แยกได้เป็น 4 แขนง
1. คติธรรม หมายถึง เรื่องของศาสนาและศีลธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต มีความเข้มแข็งอดทน รู้จักขออภัยเมื่อผิด และให้อภัยเมื่อผู้อื่นผิด รู้จักออมทรัพย์ไม่ใช้จ่ายเกินตัว รู้จักเสียสละไม่เห็นแก่ตัว บูชาความยุติธรรม พร้อมที่จะรับผิดชอบในหน้าที่การงานของตน ไม่เหยียบย่ำผู้แพ้ ไม่โอหัง
2. เนติธรรม หมายถึง เรื่องทางกฎหมาย ระเบียบ ประเพณี รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตน กล้าเผชิญความจริงไม่ทำบัตรสนเท่ห์ ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ไม่เข้าข้างคนผิด ไม่ประพฤติเป็นคนนอกกฎหมาย
3. วัตถุธรรม หมายถึง เรื่องคุณธรรมในความเป็นอยู่ การประดิษฐ์ในเรื่องวัตถุปัจจัย แต่งกายสะอาดเรียบร้อย จัดแจงที่อยู่ที่ทำงานให้มีระเบียบ รับประทานอาหารเป็นเวลา ไม่ถ่ายเทสิ่งปฏิกูลตามสาธารณสถาน รู้จักรักษาสมบัติส่วนรวม รู้จักถนอมเครื่องมือเครื่องใช้ จัดระเบียบอาชีพของตนให้เหมาะสม
4. สหธรรม หมายถึง วัฒนธรรมทางสังคม อันได้แก่ มารยาทต่าง ๆ และคุณธรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคมทุกชนิด เป็นคนมีสมบัติผู้ดี มีกิริยาวาจาน่ารักไม่เย่อหยิ่งจองหอง เป็นสุภาพชน รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น รักพวกเดียวกัน คอยสมานสามัคคีของหมู่คณะ
ยศ แปลว่า ความยิ่ง ความเด่น ใน 3 ทาง คือ
1. อิสริยยศ ยิ่งด้วยอิสระ พระราชา (ผู้ใหญ่) เป็นผู้ให้
2. บริวารยศ ยิ่งด้วยพวกพ้อง เพื่อนฝูง เป็นผู้ให้
3. เกียรติยศ ยิ่งด้วยชื่อเสียง มหาชน เป็นผู้ให้
คุณสมบัติจำเป็นของผู้ควรได้ยศนั้นมี 3 อย่าง คือ
1. ต้องมีความรู้ดี
2. ต้องมีความสามารถดี
3. ต้องมีความประพฤติดี
สัจจะ 5 สถาน
1. จริงต่อหน้าที่ คือ รักษาหน้าที่ บำรุงหน้าที่
2. จริงต่อการงาน คือ ทำให้ดี ทำให้เต็มที่ ทำให้เสร็จสิ้น
3. จริงต่อวาจา คือ การทำให้ได้ตามที่ลั่นวาจาไว้
4. จริงต่อบุคคล คือ กตัญญู ภักดี เมตตากรุณา สัตย์ซื่อ
5. จริงต่อความดี คือ ทำดี ปรับปรุงตนเอง หวังดีในทางที่ถูก สนับสนุนคนดี
คนเสียสัตย์ คือ คนที่ตั้งสัจจะลงในทางดีแล้ว ภายหลังทำลายความสัตย์ของตนเองเสีย
คนกลับสัตย์ คือ คนที่ให้คำสัตย์ไว้ต่อหน้าคนอื่นโดยถูกต้องแล้ว ภายหลังละเมิดคำสัตย์นั้นเสีย
อิทธิบาท 4 คือ ธรรมะที่ใช้ในการทำงานให้สำเร็จ
ฉันทะ ความพอใจ (พอใจทำ)
วิริยะ ความเพียร (ขยันทำ)
จิตตะ ความใส่ใจ (ตั้งใจทำ)
วิมังสา ความคิดค้น หรือเข้าใจ (เข้าใจทำ)
พรหมวิหาร 4 คือ คุณธรรมสำหรับผู้ใหญ่ 4 ประการ
เมตตา รักและปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข ทำ พูด คิด ด้วยจิตเมตตา หาทางส่งเสริมและสร้างสรรค์ความสุขแก่ผู้อื่น แนะนำให้ผู้อื่นตั้งตัวได้ แผ่เมตตาแก่ผู้อื่นเสมอ แม้จะลงโทษ ก็ควรทำด้วยความหวังดี
กรุณา สงสารเมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์ หรือประสบปัญหาแล้วคิดช่วยเหลือช่วยขจัดทุกข์ แก่ผู้น้อย คอยสอดส่องบำบัดทุกข์ให้ผู้น้อยเสมอ ไม่เบียดเบียนหรือเหยียบย่ำทำลายผู้อื่น ให้กำลังใจแก่ผู้อื่นและรู้สึกเป็นทุกข์ด้วยเมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์
มุฑิตา พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ส่งเสริมสมรรถภาพในด้านต่าง ๆ ยกย่องสรรเสริญในเมื่อทำความดี แสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ สนับสนุนและส่งเสริมให้ทำความดียิ่ง ๆ ขึ้น
อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง (ทำใจได้) เมื่อเหลือวิสัยที่จะช่วยเหลือวางใจเป็นกลาง เมื่อไม่สามารถช่วยได้ วางตัวเป็นกลาง เมื่อผู้น้อยพิพาทกัน มีความยุติธรรม ไม่ลำเอียง ไม่เลือกที่รัก ผลักที่ชัง รู้จักให้อภัย ไม่ผูกโกรธ
จริต หมายถึง พื้นเพของจิต หรือความต้องการของจิต มี 6 ประเภท คือ
1. ราคจริต คือ รักสวยรักงาม ชอบความสวยงาม
2. โทสจริต คือ หงุดหงิดรีบร้อน ชอบความรวดเร็ว รีบร้อน
3. โมหจริต คือ เขลาซึม จิตมีความซึมเซา ยืดยาด เฉื่อยชา
4. สัทธาจริต คือ บูชาความเชื่อ สนใจกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คนวิเศษ ของวิเศษ
5. พุทธจริต คือ ชอบใช้ความรู้ ชอบออกหัวคิด ชอบค้นคว้า และวิจัยข้อเท็จจริง
6. วิตกจริต คือ ชอบสร้างอารมณ์ขึ้นหลอกใจตัวเอง ให้วิตกกังวลอยู่เสมอ
กรรมการมหาเถรสมาคม ประกอบด้วย
1. สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานโดยตำแหน่ง
2. สมเด็จพระราชาคณะ เป็นกรรมการ 8 รูป
3. พระราชาคณะที่ทรงแต่งตั้งอีก ไม่เกิน 12 รูป
ระบบการบริหารพุทธศาสนา
ธรรมวินัย เทียบกับ รัฐธรรมนูญ
มติของสงฆ์ ” มติมหาชน (สภา)
อุปัชฌาอาจารย์ ” หัวหน้าครอบครัว
ภิกษุสงฆ์ที่ได้รับมอบหมาย ” เจ้าหน้าที่ของรัฐ
สมณศักดิ์
- พระฐานานุกรม
- พระสมุห์, พระใบฎีกา หรือพระครูปลัด
- พระครูสัญญาบัตร
- พระราชาคณะสามัญ
- พระราชาคณะชั้นราช
- พระราชาคณะชั้นเทพ
- พระราชาคณะชั้นธรรม
- พระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง
- สมเด็จพระราชาคณะ
- สมเด็จพระสังฆราช
ภารกิจหรือหน้าที่ที่พระภิกษุสามเณรต้องปฏิบัติ เรียกว่า “ธุระ”
คันถธุระ คือ การศึกษาพระปริยัติธรรม
วิปัสสนาธุระ คือ การปฏิบัติตามพระพุทธวจนะเบื้องสูง
ไทยมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง
1. สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร ผู้สำเร็จปริญญาตรี เรียกว่า “ศาสนศาตรบัณฑิต” (ศน.บ.)
2. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ผู้สำเร็จปริญญาตรี เรียกว่า “พุทธศาตรบัณฑิต” (พธ.บ.)
ทรัพย์สินและพัสดุสิ่งของต่าง ๆ ที่มีอยู่ในวงการพุทธจักร มี 3 ประเภท
1. ศาสนสมบัติ คือ สมบัติกลางของศาสนา ได้แก่ ที่ดิน พัสดุเงินทอง และสิ่งปลูกสร้างทางศาสนาซึ่งไม่เป็นของวัดใด เช่น พระปฐมเจดีย์ และพระมงคลบพิตร เป็นต้น
2. ของสงฆ์ คือ สมบัติของวัดแต่ละวัดเป็นของกลางสงฆ์ ได้แก่ พื้นที่วัด สิ่งปลูกสร้างที่ดินของวัด รวมทั้งพัสดุต่าง ๆ ที่เป็นของส่วนกลาง จะถือเอาเป็นส่วนตัว หรือหยิบยกให้ใครไม่ได้ ของสงฆ์นี้พระจะหยิบยกให้เอกชนได้โดยวิธีเดียว คือการแลกเปลี่ยนในทางที่วัดไม่เสียเปรียบ ที่เรียกว่า “ผาติกรรม”
3. ของบุคคล ได้แก่ บริขารเครื่องใช้ส่วนตัวของพระแต่ละรูป โดยปกติแล้วเป็นของที่เคลื่อนที่ได้
กรรมวิธีในการอุปสมบท
1. คุณสมบัติของบุคคลที่จะอุปสมบท ต้องเป็นชาย อายุ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่มีโรคอันพึงรังเกียจ ไม่เป็นลูกหนี้ มิใช่หนีมาบวช และมีบริขารครบ
2. กรรมวิธี ต้องเข้าทำพิธีอุปสมบทท่ามกลางสงฆ์ ประกอบด้วย พระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์ และพระอันดับอย่างน้อย 10 รูป พิธีนี้ต้องกระทำในเขตสีมา
3. การขาดจากภิกษุ เมื่อตนบอกลาสิกขาต่อภิกษุอื่น หรือต้องอาบัติปาราชิก
ของใช้ในพิธีอุปสมบท
- เครื่องอัฐบริขาร (สบง จีวร สังฆาฏิ บาตร มีดโกนพร้อมหินลับ เข็มเย็บผ้าพร้อมด้าย ประคดเอว กระบอกกรองน้ำ (ธมกรก)
- ไตรอาศัย
- พานธูปเทียนแพ 2 ชุด
- ดอกไม้ธูปเทียนขอนิสัย 1 ชุด
- จตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระอุปัชฌาย์ พระคู่สวด และพระอันดับ
- ของใช้สำหรับพระบวชใหม่
พระวินัยสงฆ์
พระสงฆ์ถ้ากระทำผิดวินัยเรียกว่า “อาบัติ” มีโทษหนักเบาเป็น 3 ชั้น
1. ปาราชิก ความผิดชั้นอุกฤษฏ์ ถ้าผิดแล้วขาดจากความเป็นพระทันที และบวชอีกไม่ได้ตลอดชีวิต มี 4 ข้อ
- เสพเมถุน
- ลักทรัพย์มีราคาแต่ 5 มาสกขึ้นไป (1 บาท)
- เจตนาฆ่ามนุษย์ให้ถึงตาย
- พูดอวดอ้างอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีตัวตน หมายถึง อวดว่าตนได้ฌาน หรือบรรลุมรรคผลนิพพาน
2. สังฆาทิเสส ถ้าผิดต้องอยู่กรรม (ปริวาส) คือ จำกัดตัวเอง (กักบริเวณ) ใช้เวลาเท่ากับที่ตนปกปิดความผิดไว้
3. ชั้นที่ 3 ผิดแล้วต้องแสดงต่อพระรูปอื่นจึงพ้นได้
เภสัช 4 อย่าง ที่พระรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้ไม่เกิน 7 วัน คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (น้ำตาล)
เนื้อสัตว์ 10 ชนิด ที่พระฉันไม่ได้ คือ มนุษย์ ช้าง ราชสีห์ หมี เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว สุนัข ม้า งู
ขันหมากหมั้นมี 2 ขัน ขันหมากแต่งมี 3 ขัน
การจุดเทียนธูป
จุดเทียนก่อน โดยจุดเทียนเล่มซ้ายมือของผู้จุด (ขวาของพระ) ก่อนและจุดเล่มขวาต่อไป ต่อจากนั้นจุดธูปดอกซ้ายมือของผู้จุดไปทางขวาตามลำดับ (ถ้ามีสายชนวนเชื่อมโยงจากธูปไปยังเทียนทุกคู่ ให้จุดธูปก่อน) ก้มลงกราบ 3 ครั้ง ลุกขึ้นทำกึ่งซ้ายหันแสดงการเคารพธงชาติ และทำขวาหันถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์
การประนมมือ
พิธี เปิด-ปิดการศึกษา พิธีประดับยศ ฯลฯ ผู้ร่วมพิธีประนมมือเมื่อ ประธานในพิธีเริ่มจุดเทียนธูปจนกระทั่งประธานกราบเสร็จและลุกขึ้นยืนจึงลดมือลง
กรณีรับศีล ผู้ร่วมพิธีประนมมือเมื่อ พิธีกรเริ่มอาราธนาศีล
กรณีฟังการเจริญพระพุทธมนต์ และสวดพระพุทธมนต์ ผู้ร่วมพิธีประนมมือเมื่อ พิธีกรเริ่มอาราธนาประปริตร
บาบาทของพระมหากษัตริย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น