วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เตรียมสอบ ยศ.ทบ.วิชาศิลธรรม

ศาสนาและศีลธรรม

ประวัติพระพุทธเจ้า
พระนามเดิมว่า “สิทธัตถะ” เป็นเจ้าชายในวงศ์ศากยะ พระบิดาทรงพระนามว่า “พระเจ้าสุทโธทนะ” ครองนครกบิลพัสดิ์ แห่งแคว้นสักกะ พระมารดาทรงพระนามว่า “พระนางเจ้าสิริมหามายา” เมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกกับ พระนางเจ้ายโสธรา เจ้าหญิงในโกลิยวงศ์ มีพระโอรสชื่อ พระราหุล เสด็จออกผนวชเมื่อพระชนมายุ 29 พรรษา ตรัสรู้เมื่อพระชนมายุ 36 พรรษา ทรงใช้เวลาแสดงปฐมเทศนา 45 ปี ปลายแห่งพระชนม์ชีพ ได้ทรงอาพาธด้วยพระโรคลงพระโลหิต เรียกว่า “ปักขันธิกาพาธ” และได้ตรัสสั่งไว้ว่า เมื่อพระองค์ปรินิพานแล้ว ให้พุทธบริษัททั้งหลายถือว่า “ธรรมวินัย” ที่พระองค์ทรงแสดงไว้นั้นเป็นศาสดาแทนพระองค์
คำสอนของพระองค์ จัดเป็น 2 ประเภท
1. พระธรรม ได้แก่ คำสอน
2. พระวินัย คือ ข้อบัญญัติ ที่พระองค์ทรงวางไว้เพื่อควบคุมกายวาจาของศาสนิก ให้มีระเบียบเรียบร้อย
การตั้ง พ.ศ. เริ่มขึ้นตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ไทยนับ พ.ศ.1 เมื่อล่วงไปแล้ว 1 ปี พม่าและศรีลังกา นับ พ.ศ.1 ในปีปรินิพพานนั้น
ประมาณ พ.ศ.100 พุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 2 นิกาย คือ
1. เถรวาท (หินยาน) ขยายตัวไปทางประเทศศรีลังกา พม่า ไทย เขมร ลาว
- มหานิกาย
- ธรรมยุตินิกาย เกิดขึ้นในสมัยรัชการที่ 3
2. มหายาน ขยายตัวไปทางประเทศธิเบต จีน ญวน เกาหลี ญี่ปุ่น
พุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในไทย 4 ยุค
ยุคที่ 1 ก่อน พ.ศ.300 นิกายเถรวาท สร้างพระปฐมเจดีย์ไว้ที่ จ.นครปฐม
ยุคที่ 2 พ.ศ. 1300 นิกายมหายาน กษัตริย์กรุงศรีวิชัยเป็นผู้นำเข้ามาเผยแผ่ที่นครศรีธรรมราช สร้างพระธาตุไชยา
ยุคที่ 3 พ.ศ. 1600 นิกายเถรวาทแบบพุกาม พระเจ้าอนุรุธ กษัตริย์พม่าเป็นผู้นำเข้ามาเผยแผ่ทางลานนาไทย
ยุคที่ 4 พ.ศ. 1800 นิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ที่เมืองนครศรีธรรมราช และนับถือมาจนถึงปัจจุบัน
พระพุทธศาสนาวางหลักการเสียสละไว้ 3 อย่าง คือ
เสียสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ
เสียสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต
เสียสละทุกอย่าง (ชีวิต) เพื่อรักษาธรรมะ
พระพุทธโอวาท มี 3 อย่าง
1. ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
2. ทำความดีให้เต็มที่
3. ทำใจให้บริสุทธิ์
การนับถือพุทธศาสนาของคนไทย
สมัยต้น นับถือนิกายมหายานตามแบบอย่างของจีน พ.ศ.612 พระเจ้ามิ่งตี่ฮ่องเต้ ทรงส่งทูตอันเชิญพระพุทธศาสนา
มาเจริญสัมพันธไมตรีกับ ขุนหลวงเมา กษัตริย์ไทยในอาณาจักรอ้ายลาว
สมัยลานนาไทย นับถือนิกายเถรวาทแบบพุกาม
สมัยสุโขทัย นับถือนิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์
วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา คือ วัดเวฬุวนาราม พระเจ้าพิมพิสาร เป็นผู้ถวายที่ดินเพื่อสร้าง
พระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา คือ พระโกญทัญญะ และเป็นผู้ที่เข้าใจธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นองค์แรก
สามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา คือ พระราหุล
ภิกษุณี หรือสาวกฝ่ายหญิงองค์แรกในพระพุทธศาสนา คือ พระนางปชาบดีโคตมี
ปัญจวคี ทั้ง 5 คือ โกญฑัญญะ วัปปะ มหานามะ ภัททิยะ อัสสชิ
อัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า คือ พระสารีบุตร
อัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า คือ พระโมคคัลลานะ
อัครสาวกที่ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้ที่มีความจำดีเลิศ และเป็นพระอรหันต์ที่เป็นเอหภิกขุองค์สุดท้าย คือ พระอานนท์
คัมภีร์ทางศาสนาที่จารึกพระธรรม
1. พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ดั้งเดิม มี 84,000 พระธรรมขันธ์ มีจำนวน 45 เล่ม
- พระวินัยปิฎก 21,000 พระธรรมขันธ์
- พระสุตันปิฎก 21,000 พระธรรมขันธ์
- พระอภิธรรมปิฎก 42,000 พระธรรมขันธ์
2. อรรถกถา เป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก
3. ฎีกา เป็นคำอธิบายอรรถกถา
4. อนุฎีกา เป็นคำอธิบายฎีกา
5. อาจริยมติ เป็นคำอธิบายธรรมวินัย
หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรียกว่า “อริยสัจ 4” หมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ
ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เช่น โกรธ เจ็บปวด เหงา กลัว ฯลฯ
สมุทัย คือ ต้นเหตุของความทุกข์ ได้แก่ ความอยาก หรือตัณหา
นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ไม่มีทุกข์ไม่มีความอยากใด ๆ (สำคัญที่สุด)
มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือวิธีปฏิบัติเพื่อไปสู่นิโรธ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น