วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม

ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการลงทัณฑ์ทหารขาดหนีราชการ พ.ศ.๒๕๒๘

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การลงทัณฑ์ทหารขาดหนีราชการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงออกข้อบังคับนี้ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑. ข้อบังคับนี้เรียกว่า "ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการลงทัณฑ์ทหารขาดหนีราชการ พ.ศ.๒๕๒๘"
ข้อ ๒.ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓.ให้ยกเลิก
๓.๑ ข้อบังคับทหารที่ ๕/๙๑๐๓/๒๔๗๕ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๗๕ ว่าด้วยระเบียบการ ลงอาชญาทหารขาดหนีราชการ
๓.๒ คำสั่งทหารที่ ๒๑๙/๑๓๙๑๘ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๙ เรื่องแก้ข้อบังคับ ทหาร ฯ
๓.๓ คำสั่งทหารที่ ๔๖/๒๔๗๔ ลงวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๘ เรื่องแก้ข้อบังคับ ทหาร ฯ
๓.๔ ข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยระเบียบการลงอาชญาทหารขาดหนีราชการ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ.๒๕๐๒
บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่มีกำหนดไว้แล้วในข้อบังคับนี้ หรือซึ่งขัด หรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้แทน
ข้อ ๔. ในข้อบังคับนี้
๔.๑ "ทหาร" หมายความว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมาย ว่าด้วยการรับราชการทหาร
๔.๒ "ทัณฑ์" หมายความว่า ทัณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
๔.๓ "ในเวลาไม่ปกติ" หมายความว่า ในเวลาที่มีการรบ สถานะสงคราม หรือประกาศใช้ กฎอัยการศึก
๔.๔ "ในเวลาปกติ" หมายความว่า เวลาอื่นที่มิได้มีการรบ สถานะสงคราม หรือประกาศใช้ กฎอัยการศึก
๔.๕ "ขาดราชการ" หมายความว่า ขาดจากหน้าที่ราชการดังต่อไปนี้
๔.๕.๑ ขาดไม่ถึง ๒๔ ชั่วโมง ต่อหน้าราชศัตรู หรือ
๔.๕.๒ ขาดไม่ถึง ๓ วัน ในเวลาไม่ปกติ หรือ
๔.๕.๓ ขาดโดยมิได้รับอนุญาตหรือเมื่อพ้นกำหนดอนุญาตลาในเวลาปกติยังไม่ถึง ๑๕ วัน
๔.๖ "หนีราชการ" หมายความว่า ขาดจากหน้าที่ราชการดังต่อไปนี้
๔.๖.๑ ขาด ๒๔ ชั่วโมง ต่อหน้าราชศัตรู หรือ
๔.๖.๒ ขาด ๓ วัน ในเวลาไม่ปกติ หรือ
๔.๖.๓ ขาดโดยมิได้รับอนุญาต หรือเมื่อพ้นกำหนดอนุญาตลาในเวลาปกติ ๑๕ วัน หรือ
๔.๖.๔ ขาดโดยเจตนาจะหลีกเลี่ยงจากราชการ ตามคำสั่งให้เคลื่อนกำลังทหารทางบก ทางเรือ หรือทางอากาศ ไปจากที่ตั้ง หรือคำสั่งเรียกระดมพล
ข้อ ๕. การลงทัณฑ์ตามข้อบังคับนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาสั่งลงทัณฑ์ได้แต่ละครั้งที่ขาดราชการ หรือหนีราชการตามเกรณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้ แต่ต้องไม่เกินอัตรากำหนดทัณฑ์สูงสุด ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
ข้อ ๖. การนับครั้งขาดราชการหรือหนีราชการ และการคำนวณวันลงทัณฑ์ ให้ถือเกณฑ์ดังนี้
๖.๑ ถ้าหนีราชการให้นับครั้งเฉพาะในการหนีราชการ
๖.๒ ถ้าขาดราชการให้นับครั้งหนีราชการรวมกับครั้งที่ขาดราชการด้วย
๖.๓ การขาดราชการไม่ถึง ๒๔ ชั่วโมง ในเวลาปกติไม่ให้นับเป็นครั้ง และไม่ต้องลงทัณฑ์ ตามข้อบังคับนี้
๖.๔ การคำนวณวันลงทัณฑ์ ถ้ามีเศษของวันให้ตัดออก
ข้อ ๗. ทหารซึ่งขาดราชการหรือหนีราชการในเวลาปกติ ให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติดังต่อไปนี้
๗.๑ ขาดราชการแล้วกลับเอง ครั้งที่ ๑ ทำทัณฑกรรมไม่เกิน ๓ วัน ครั้งที่ ๒ ขัง กึ่งจำนวนวันที่ขาดราชการ ครั้งที่ ๓ และครั้งต่อ ๆ ไป ขังเท่าจำนวนวันที่ขาดราชการ
๗.๒ หนีราชการแล้วกลับเอง ครั้งที่ ๑ จำขัง ๑ ใน ๔ ของจำนวนวันที่หนีราชการ ครั้งที่ ๒ จำขัง กึ่งจำนวนวันที่หนีราชการ ครั้งที่ ๓ และครั้งต่อ ๆ ไป จำขังเท่าจำนวนวันที่หนีราชการ
๗.๓ ขาดราชการหรือหนีราชการแล้วถูกจับตัวส่งถ้าต้องมีผู้ติดตามจับตัวส่งหรือเจ้าพนักงาน จับตัวส่ง ให้ลงทัณฑ์สองเท่าของอัตราที่กำหนดไว้ใน ๗.๑ หรือ ๗.๒ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๘. ทหารซึ่งขาดราชการในเวลาไม่ปกติ ให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติดังต่อไปนี้
๘.๑ ครั้งที่ ๑ ขังเท่าจำนวนวันที่ขาด
๘.๒ ครั้งที่ ๒ ขังสองเท่าของจำนวนวันที่ขาด
๘.๓ ครั้งที่ ๓ และครั้งต่อ ๆ ไปให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาลงทัณฑ์ขังตามสมควรแก่ความผิด แต่ทัณฑ์ที่จะลงต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ ๘.๒
ข้อ ๙. ทหารซึ่งหนีรา๖การในเวลาไม่ปกติ ให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติดังต่อไปนี้
๙.๑ ครั้งที่ ๑ ไม่เกิน ๓๐ วัน ถ้ากลับเองให้ลงทัณฑ์จำขัง เท่าจำนวนวันที่หนีถ้าถูกจับตัว ส่งให้ลงทัณฑ์จำขังสองเท่าของจำนวนวันที่หนี
๙.๒ ครั้งที่ ๑ เกินกว่า ๓๐ วัน หรือครั้งที่ ๒ ให้ผู้บังคับบัญชาส่งตัวผู้นั้นไปฟ้องศาล เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรได้รับความปรานีเป็นกรณีพิเศษ ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา สั่งลงทัณฑ์ตามสมควรแก่ความผิด แต่ทัณฑ์ที่จะลงต้องไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ใน ๙.๑
๙.๓ ครั้งที่ ๓ และครั้งต่อ ๆ ไป หรือหนีราชการโดยเจตนาจะหลีกเลี่ยงจากราชการ ตามคำสั่งให้เคลื่อนกำลังทหารทางบก ทางเรือ หรือทางอากาศ ไปจากที่ตั้งก็ดี ให้ ผู้บังคับบัญชาส่งตัวผู้นั้นไปฟ้องศาล
ข้อ ๑๐. ทหารซึ่งหนีราชการในกรณีต่อไปนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาส่งตัวไปฟ้องศาล
๑๐.๑ เมื่อคำนวณวันลงทัณฑ์จะต้องรับทัณฑ์จำขังเกินกว่า ๖ เดือน หรือ
๑๐.๒ หนีราชการไปแล้วมีข้อหาว่าได้กระทำความผิดในทาอาญาอย่างอื่นรวมอยู่ด้วย
ข้อ ๑๑. ทหารซึ่งหนีราชการจนคดีขาดอายุความสำหรับความผิด ฐานหนีราชการแล้ว ให้ปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ หรือพ้นราชการทหารประเภทที่ ๒ แล้วแต่กรณี ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารโดยไม่ต้องสั่งลงทัณฑ์ ความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับสำหรับผู้ซึ่งหนีราชการจนคดีขาดอายุความ สำหรับความผิดฐานหนีราชการแล้ว แต่ผู้บังคับชายังมิได้ดำเนินการลงทัณฑ์ หรือลงทัณฑ์แล้วแต่ผู้กระทำความผิดยังรับทัณฑ์ ไม่ครบกำหนดด้วย
ข้อ ๑๒. ทหารกองเกินหรือทหารกองหนุน ซึ่งเข้ารับราชการในการระดมพล ถ้าขาดราชการ หรือหนีราชการ ให้ลงทัณฑ์ตามข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ โดยอนุโลม หากเข้ารับราชการในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความ พรั่งพร้อม ถ้าขาดราชการหรือหนีราชการ ให้ลงทัณฑ์เช่นเดียวกับวรรคหนึ่ง แต่ไม่เกินกว่า ๓ เดือน แต่ถ้าหลีกเลี่ยง หรือขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารในการระดมพล หรือในการเรียกระดม พลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร เพื่อทดลองความพรั่งพร้อม อันเป็นความผิดต่อกฎหมาย ว่าด้วยการรับราชการทหารซึ่งต้องดำเนินคดีในชั้นศาล ผู้บังคับบัญชาจะลงทัณฑ์ตามข้อ บังคับนี้มิได้

ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๒๘

(ลงชื่อ) พลเอก ป. ติณสูลานนท์
(เปรม ติณสูลานนท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

วินัยทหาร ๙ ข้อ

กล่าวนำ
ความจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
ที่มาของกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
ความเกี่ยวพันระหว่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกับ กฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
กฎหมายว่าด้วยวินัยทหารและความเกี่ยวพันกับกฎหมายอื่น
ความหมายของคำว่า “วินัยทหาร” และ “แบบธรรมเนียมทหาร”
ตัวอย่างของการกระทำผิดวินัยทหาร
ผู้ที่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
ผู้บังคับบัญชา และผู้ใหญ่เหนือตน
ทัณฑ์ทางวินัย
ผู้มีอำนาจลงทัณฑ์ทางวินัย
เกณฑ์เทียบชั้นผู้ลงทัณฑ์และผู้รับทัณฑ์
การเทียบตำแหน่งผู้ลงทัณฑ์และผู้รับทัณฑ์
ข้อพึงระลึกในการลงทัณฑ์
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับความผิดบางลักษณะที่มีองค์ประกอบคล้ายกัน
การกระทำอย่างไรที่ถือว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ
กรณีที่เป็นความผิดลหุโทษและความผิดที่เปรียบเทียบได้
กล่าวนำ
วินัยทหารเป็นหลักสำคัญที่สุดสำหรับทหารในยามสงคราม ถ้าทหารมีวินัยดี การปกครอง บังคับบัญชาเป็นระเบียบเรียบร้อย การปฏิบัติในการรบย่อมมีหวังในชัยชนะถ้าทหารไม่มีวินัย ควบคุม กันไม่ได้ สมรรถภาพของทหารก็จะเสื่อมโทรม ไม่อาจปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดให้สำเร็จลุล่วงไป จนอาจเป็นภัยร้ายแรงแก่ประเทศชาติได้ แม้ในยามปกติ การมีวินัยของทหารยังเป็นเครื่องเชิดชูเกียรติ แสดงถึงสมรรถภาพของกองทัพเป็นที่ยกย่องแก่ประชาชนทั่วไป
ความจำเป็นที่ต้องมีกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
เนื่องจากทหารมีหน้าที่ป้องกันประเทศชาติโดยตรง และเป็นกลุ่มบุคคลที่ถืออาวุธโดยเปิดเผย ย่อมกระทำผิดได้ง่ายกว่าบุคคลพลเรือนทั่วไปดังนั้น การปกครองบังคับบัญชาทหารจึง จำเป็นต้องกระทำโดยเฉียบขาด สำหรับการบังคับบัญชาหมายถึง อำนาจปกครอง, ควบคุมดูแล และสั่งการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ โดยเรียกผู้มีอำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการนั้นว่า “ผู้บังคับบัญชา” และเรียกผู้อยู่ใต้อำนาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการนั้นว่า “ผู้ใต้บังคับบัญชา” ปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนจำนวนมากสามารถปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ ความมีวินัย ซึ่งหากทหารขาดวินัยหรือวินัยหย่อนยานเสียแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความแตกแยก แตกความสามัคคี และยากที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุภารกิจ ซึ่งอาจส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อส่วนรวมได้ในที่สุด สำหรับเครื่องมือสำคัญเครื่องมือสำคัญเบื้องต้นของผู้บังคับบัญชา ในอันที่จะรักษาระเบียบวินัยของ ทหารก็คือ กฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจผู้บังคับบัญชาเพื่อใช้ในการปกครอง บังคับบัญชา ตลอดจนให้อำนาจลงทัณฑ์แก่ทหารผู้กระทำผิดวินัยทหารโดยเฉพาะ ทั้งยังเป็นการ ช่วยเสริมสร้างกองทัพ ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพเข้มแข็ง
ที่มาของกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
การปกครองของไทยในสมัยโบราณนับตั้งแต่กรุงสุโขทัย ยึดถือนโยบายการป้องกัน ประเทศเป็นหลัก ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเป็นทหาร การปกครองทั่วไปใช้วิธีปกครองอย่างทหาร ดังนั้น วินัยกับทหารจึงเป็นสิ่งที่คู่กันมาตลอดมา แต่ระเบียบกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับต่าง ๆ ยังมิได้ ตราขึ้นเป็นกฎหมาย คงยึดถือประเพณีหรือแบบธรรมเนียมที่ทหารต้องประพฤติปฏิบัติตาม ครั้น ในสมัยต่อ ๆ มา แม้การศึกสงครามจะห่างลง ทำให้การปกครองอย่างทหารผ่อนคลายลงไป แต่และการออกสงคราม เช่น พระอัยการอาญาหลวง บัญญัติในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทอง พ.ศ.๑๘๙๕ พระอัยการกบฏศึก บัญญัติในแผ่นดิน สมเด็จพระ...ผูกพันกันเป็นอย่างมาก ซึ่งจะพบว่ามีกฎหมายหลายฉบับที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารและเรียกผู้อยู่ใต้อำนาจปกครอง ควบคุมดูแลและสั่งการนั้นว่า “ผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นต้น ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตราพระราชบัญญัติ และประกาศต่าง ๆ เล่ม ๓ ออกใช้บังคับ ซึ่งในกฎหมายฉบับนี้มีประกาศพระราชกำหนดกฎหมายทหาร โดยพระยาบุรุศรัตนพัลลภจางวาง ผู้กำกับทหารบกทุกหมู่ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันอังคาร เดือน ๗ ขึ้นค่ำหนึ่ง จ.ศ.๑๒๒๕ (พ.ศ.๒๔๐๖) สำหรับใช้บังคับแก่ทหารที่มียศต่าง ๆ ตั้งแต่ครู นายแถวและทหารเลว รวม ๑๓ ข้อ เพื่อยึดถือปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องการลา การเตรียมตัว เมื่อถึงเวลาฝึกหัด การระวังรักษาดูแลเครื่องแต่งกาย การจัดยามประจำหน้าที่ การลงโทษทหาร ที่เกียจคร้านการฝึก การลงโทษทหารที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา การลงโทษทหารที่นินทาด่าผู้บังคับบัญชา ทั้งต่อหน้า และลับหลัง แบบธรรมเนียมในการแสดงความเคารพต่อผู้บังคับบัญชา และผู้ใหญ่นับได้ว่ากฎหมายฉบับ นี้เป็นกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารและแบบธรรมเนียมต่าง ๆ สำหรับให้ทหารผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชายึดถือปฏิบัติในสมัยนั้น ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ตรากฎหมายว่าด้วยวินัยทหารขึ้นสองฉบับคือ กฎหว่าด้วยอำนาจลงอาญาทหารเรือ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๔๕๔ สำหรับใช้บังคับทหารเรือ และกฎว่าด้วยยุทธวินัยและการลงอาญาทหารบกฐาน ละเมิดยุทธวินัย ลงวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๔๕๘ สำหรับใช้บังคับทหารบกจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวไม่เหมาะสมแก่กาลสมัย และยังไม่มีความชัดเจนพอ กล่าวคือไม่มีบทนิยามศัพท์ให้แน่ชัดว่าวินัยทหารคืออะไร อีกทั้งเมื่อได้ให้อำนาจแก่ผู้บังคับบัญชาแล้ว ก็สมควรมีหนทางให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถร้องทุกข์ได้ ในกรณีที่ถูกผู้บังคับบัญชากดขี่ โดยอยุติธรรมนั้นได้ด้วย ดังนั้นเสนาบดีกระทรวงกลาโหม และเสนาบดีกระทรวงทหารเรือในขณะนั้น จึงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตออกกฎใหม่ และได้รับพระราชทานพระบรมราชาอนุญาตให้ตรากฎว่าด้วยยุทธวินัย และการลงอาญาทหารบก ฐานละเมิดยุทธวินัย ลงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕ ขึ้นใช้บังคับและให้ยกเลิกกฎหมายเดิมทั้งสองฉบับนั้นเสีย
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินในปี พ.ศ.๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ ขึ้นโดยคำแนะนำ และความยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากขณะนั้น ทั้งทหารบกและทหารเรือ ได้รวมเป็นกระทรวงเดียวกัน จึงสมควรให้กฎหมายฉบับเดียวกัน บังคับแก่ทหารทั้งหมด กับให้ยกเลิกกฎว่าด้วยยุทธวินัย และการลงอาญาทหารบก ฐานละเมิดยุทธวินัย และยกเลิกกฎเสนาบดีว่าด้วยอำนาจลงอาญาทหารเรือ โดยให้พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๗๖ ตลอดจนถึงปัจจุบันนี้
ความเกี่ยวพันระหว่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกับกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือ ข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับไม่ได้ [1] นอกจากนี้ในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย รัฐธรรมนูญได้บัญญัติว่า บุคคลย่อมเสมอภาคกัน ในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน [2] อันเป็นการรับรองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของ ประชาชนคนไทย เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ แต่ในการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว บุคคลที่เข้ารับราชการซึ่งรวมถึงข้าราชการทหารด้วย บุคคลเหล่านี้นอกจากจะอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย ทั่วไปแล้ว ยังต้องอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายเฉพาะต่างหากจากประชาชนทั่วไป เช่น ทหารต้องตกอยู่ ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารเป็นต้น ด้วยเหตุนี้เอง รัฐธรรมนูญทุกฉบับทั้งฉบับปัจจุบัน จึงได้บัญญัติรองรับในเรื่องนี้ไว้ใน มาตรา ๖๔ ว่า “บุคคลซึ่งเป็นทหาร ตำรวจ และข้าราชการอื่นของ รัฐ ฯลฯ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดในกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจรรยาบรรณ” ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อจำกัดสิทธิและเสรีภาพในเรื่องวินัยสำหรับทหาร เพราะวินัยทหาร เป็นรากฐานสำคัญ และเป็นมาตรการจำเป็นที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติ ราชการเป็นส่วนรวมนั้นเอง
กฎหมายว่าด้วยวินัยทหารและความเกี่ยวพันกับกฎหมายอื่น
ก. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ มีบทบัญญัติโดย ตรงที่มีผลบังคับต่อกฎหมายวินัยทหาร คือ ๑) มาตรา ๖๔ บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ พนักงานส่วนท้องถิ่น และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์การของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตาม รัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดในกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับที่ออกโดย อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจรรยาบรรณ ๒) มาตรา ๖๑ บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ และได้รับแจ้งผลการพิจารณา ภายในเวลาอันสมควร ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ข้อสังเกต จากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ ทั้ง ๒ มาตรา เป็นการรองรับ พ.ร.บ. ว่าด้วยวินัยทหาร ฯ ในส่วนที่ทหาร ต้องอยู่ภายใต้บังคับในส่วนที่เกี่ยวกับวินัยทหารไม่ว่าจะเป็น กฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังบัญญัติถึงสิทธิในการร้องทุกข์ของทหาร ซึ่งมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการร้องทุกข์ไว้โดยเฉพาะใน พ.ร.บ.วินัยทหาร ฯ ตั้งแต่ มาตรา ๒๑ ถึง มาตรา ๓๑ ข. ประมวลกฎหมายอาญาทหาร ประมวลกฎหมายอาญาทหาร เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๕ เป็นกฎหมายที่กำหนดลักษณะโทษและความผิดต่าง ๆ ที่เป็นความผิดทางอาญา ในบางลักษณะเพื่อลงโทษแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เหตุผลก็คือ การที่ทหารกระทำผิดกฎหมายอาญาบ้านเมืองนั้น นอกจากจะเป็นความผิดทางอาญาแล้ว ความผิดดังกล่าวมีลักษณะเป็นการละเว้นการอันควรประพฤติของฝ่ายทหารเจือปนด้วย จึง สมควรมีกฎหมายอาญาทหารเพื่อลงโทษทหารให้หนักกว่าผู้กระทำผิดเช่นเดียวกันซึ่งเป็นคน ธรรมดาสามัญ นอกจากนี้ ความผิดทางอาญาในทางทหารถือว่าเป็นความผิดวินัยกึ่งอาญา แผ่นดิน (คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๑๒๑/๒๔๙๕) สำหรับประมวลกฎหมายอาญาทหารในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร มีหลายกรณีด้วยกัน กล่าวคือ ๑) ให้อำนาจลงทัณฑ์ผู้กระทำผิดวินัยทหาร ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ ผิดที่ใด ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา ๗ บัญญัติว่า ผู้มีอำนาจบังคับบัญชา ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร มีอำนาจลงทัณฑ์แก่ทหารผู้กระทำผิดวินัยทหารตามกฎหมาย ว่าด้วยวินัยทหาร ไม่ว่าเป็นการกระทำความผิดในหรือนอกราชอาณาจักร ๒) การกระทำผิดกฎหมายอาญาทหารในบางลักษณะให้อำนาจผู้บังคับบัญชา ลงทัณฑ์ทางวินัย แทนการส่งตัวฟ้องศาลได้ การลงทัณฑ์ทางวินัยกับการลงโทษทางอาญานั้น แตกต่างกันอย่างชัดเจนทั้งในเรื่อง เจตนารมณ์ของกฎหมาย และวิธีปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด รวมทั้งผลที่มีต่อผู้กระทำผิด แต่ในความผิดตาม กฎหมายอาญาทหารบางลักษณะกฎหมาย ให้อำนาจผู้บังคับบัญชาที่จะพิจารณา เห็นว่าการกระทำ ผิดดังกล่าวเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ผู้บังคับบัญชามีอำนาจลงทัณฑ์ให้ถือว่า เป็นความผิดต่อวินัยทหาร ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๘ และ ๙ คือ มาตรา ๘ การกระทำความผิดอย่างใด ๆ ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๓ มาตรา ๒๔ มาตรา ๒๘ มาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๓๔ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๑ มาตรา ๔๒ มาตรา ๔๓ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๖ และมาตรา ๔๗ แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าผู้มีอำนาจบังคับบัญชาตามกฎหมายว่า ด้วยวินัยทหารพิจารณาเห็นว่า เป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ให้ถือว่าเป็นความผิดต่อวินัยทหารและ ให้มีอำนาจลงทัณฑ์ตามมาตรา ๗ เว้นแต่ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร จะสั่งให้ส่งตัวผู้กระทำความผิด ไปดำเนินคดีในศาลทหาร หรือจะมีการดำเนินคดีนั้นในศาลพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร จึงให้เป็นไปตามนั้น มาตรา ๙ ความที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘ ให้ใช้ตลอดถึงความผิดลหุโทษและ ความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย ตามปกติแล้ว ความผิดทุกมาตราที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาทหารทุกมาตรา ถือว่าเป็นความผิดทางอาญา ดังนั้นผู้กระทำความผิดตามกฎหมายนี้ย่อมถูกส่งตัวฟ้องศาล แต่ความในมาตรา ๘ บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า ถ้าเป็นความผิดตามมาตราใดมาตรา หนึ่ง รวม ๒๑ มาตรา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๒๑ นายเรือทำให้เรือชำรุดโดยประมาท มาตรา ๒๓ ทำให้เรือทหารชำรุดหรืออับปางโดยประมาท มาตรา ๒๔ ความผิดที่กระทำต่อเรือที่ใช้เดินในลำน้ำ มาตรา ๒๗ ทหารทำลายหรือละทิ้งทรัพย์ที่ใช้ในการยุทธ มาตรา ๒๘ สบประมาทธง มาตรา ๒๙ ทหารละทิ้งหน้าที่ มาตรา ๓๐ ทหารขัดขืนหรือละเลยไม่กระทำตามคำสั่ง มาตรา ๓๑ ทหารขัดขืนหรือละเลยไม่กระทำตามคำสั่งอย่างองอาจ มาตรา ๓๒ ทหารขัดขืนหรือละเลยไม่กระทำตามข้อบังคับ มาตรา ๓๓ ทหารขัดขืนหรือละเลยไม่กระทำตามข้อบังคับอย่างองอาจ มาตรา ๓๔ ทหารหลับยามหรือเมาสุรา มาตรา ๓๕ ทหารไม่เอาใจใส่หรือประมาทในหน้าที่ มาตรา ๓๖ ทำร้ายทหารยาม มาตรา ๓๗ หมิ่นประมาทหรือขู่เข็ญทหารยามมาตรา ๓๙ ทหารทำร้ายผู้ใหญ่เหนือตน มาตรา ๔๑ ทหารแสดงความอาฆาตหรือหมิ่นประมาทผู้บังคับบัญชาหรือทหารผู้ใหญ่เหนือตน มาตรา ๔๒ ทหารกระทำการกำเริบ มาตรา ๔๓ ทหารกระทำกำเริบโดยมีสาตราวุธ มาตรา ๔๔ ทหารกระทำการกำเริบแล้วเลิกไปโดยดี มาตรา ๔๖ ทหารกระทำผิดฐานหนีราชการ มาตรา ๔๗ ทหารปลอมปนทรัพย์ของทหาร หากผู้บังคับบัญชาพิจารณาเห็นว่าการกระทำความผิดฐานใดฐานหนึ่งใน ๒๑ ลักษณะนี้ เป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ก็ให้ถือว่าเป็นความผิดต่อวินัยทหาร และผู้บังคับบัญชามีอำนาจลงทัณฑ์ทางวินัยได้ แต่มีข้อยกเว้นไว้ว่าในความผิดดังกล่าว ถ้าผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการ จะสั่งให้ส่งตัวผู้กระทำผิดฟ้องศาลก็ต้องเป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ เพราะว่าอำนาจสั่งคดีในทาง ศาลทหารเป็นอำนาจตามกฎหมายของผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการโดยตรง ส่วนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาทหารในมาตราอื่นที่มิได้ระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ใน มาตรา ๘ ผู้บังคับบัญชา ไม่มีอำนาจพิจารณาว่าเป็นความผิดเล็กน้อยไม่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น ทหารกระทำผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา ๓๘ ฐานทำร้ายผู้บังคับบัญชา กรณีเช่นนี้ ทหารผู้กระทำผิด จะต้องถูกดำเนินคดีในศาลทหาร

ความหมายของวินัยทหาร และแบบธรรมเนียมทหาร

ความหมายของคำว่า “วินัยทหาร” และ “แบบธรรมเนียมทหาร”
“วินัยทหาร” คือ การที่ทหารต้องประพฤติตามแบบธรรมเนียมทหาร (มาตรา ๔) “แบบธรรมเนียมทหาร” ได้แก่บรรดา กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง คำแนะนำ คำชี้แจงและสรรพหนังสือต่าง ๆ ที่ผู้บังคับบัญชาได้ออกหรือได้วางไว้เป็นหลักฐานให้ทหารปฏิบัติ ซึ่ง รวมทั้งขนบธรรมเนียม และประเพณีอันดีของทหารทั้งที่เป็นและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ตัวอย่างของการกระทำผิดวินัยทหาร (มาตรา ๕)วินัยทหารเป็นหลักสำคัญที่สุดสำหรับทหาร เพราะฉะนั้นทหารทุกคนจักต้องรักษา โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ผู้ใดฝ่าฝืน ท่านให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิด ตัวอย่างการกระทำผิดวินัยทหาร มีดังต่อไปนี้ (วินัย 9 ข้อ)๑. ดื้อ ขัดขืน หลีกเลี่ยง หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเหนือตน๒. ไม่รักษาระเบียบการเคารพระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย๓. ไม่รักษามารยาทให้ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมของทหาร๔. ก่อให้แตกความสามัคคีในหมู่ทหาร๕. เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่ราชการ๖. กล่าวคำเท็จ๗. ใช้กิริยาวาจาไม่สมควร หรือประพฤติไม่สมควร๘. ไม่ตักเตือนสั่งสอน หรือลงทัณฑ์ผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิดตามโทษานุโทษ๙. เสพเครื่องดองของเมาจนถึงเสียกิริยา
ผู้ที่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร
จากบทนิยามศัพท์ของคำว่าวินัยทหาร คือการที่ทหารต้องประพฤติตามแบบ ธรรมเนียมทหาร โดยมิได้มีคำจำกัดความของคำว่าทหารนั้น หมายถึงทหารประเภทใดบ้าง เนื่องจากทหารมีหลายประเภท โดยพิจารณาจาก พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ ซึ่งแบ่งทหารออกเป็น ๔ ประเภท คือ ก. ทหารกองประจำการ (คือผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการ และได้เข้ารับราชการในกองประจำการ จนกว่าจะปลด) ข. ทหารประจำการ (คือทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งมิใช่ทหารกองประจำการ) ค. ทหารกองเกิน (คือผู้ซึ่งมีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกิน ตามมาตรา ๑๖ หรือ ผู้ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกิน ตามมาตรา ๑๘ แล้ว) ง. ทหารกองหนุน ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) ทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ (คือทหารที่ปลดกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการจนครบกำหนด หรือทหารกองเกินซึ่งสำเร็จวิชาทหาร ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการ แล้วปลดเป็นกองหนุนตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗) ๒) ทหารกองหนุนประเภทที่ ๒ (คือทหารที่ปลดออกจากกองเกินตามมาตรา ๓๙ หรือปลดจากกองประจำการ ตามมาตรา ๔๐)
เมื่อพิจารณาคุณสมบัติของทหารทั้ง ๔ ประเภท จะเห็นได้ว่าทหารที่ต้องอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร ตลอดเวลาที่รับราชการก็คือ ทหารกองประจำการ และทหารประจำการ ส่วนทหารกองเกินและทหารกองหนุนนั้น เป็นทหารที่มิได้รับราชการทหารและมิได้อยู่ประจำหน่วยทหาร จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร ยกเว้นในกรณีที่ทหารกองเกิน และทหารกองหนุนถูกเรียกเข้ารับราชการตาม มาตรา ๓๖ กล่าวคือเมื่อถูกเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม และในการระดมพลต้องตกอยู่ในวินัยทหารเหมือนทหารกองประจำการ ดังนั้นในช่วงเวลาที่ถูกเรียกเข้ารับราชการกรณีดังกล่าว ทั้งทหารกองเกินและทหารกองหนุนต้องตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมาย ว่าด้วยวินัยทหาร เช่นเดียวกับทหารกองประจำการใน ฐานะเป็นผู้รับทัณฑ์ สำหรับบุคคลที่มิใช่ทหาร แต่ต้องตกอยู่ในบังคับแห่งวินัยทหาร เพราะมีบทบัญญัติไว้ในตารางเทียบชั้นผู้ลงทัณฑ์ และผู้รับทัณฑ์ ท้าย มาตรา ๑๐ แห่ง พ.ร.บ.วินัยทหารฯ ในฐานะ เป็นผู้รับทัณฑ์ ได้แก่ ๑. นักเรียนทหารซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร (นักเรียนนายร้อย, นักเรียนนายเรือ, นักเรียนนายเรืออากาศ) ๒. บุคคลผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างเข้ารับการฝึกวิชาทหารโดยคำสั่ง รมว.กห. ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (พ.ร.บ.ส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ.๒๕๐๓ มาตรา ๑๐ บัญญัติว่านิสิต หรือนักศึกษาที่เข้ารับการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่ กห. กำหนด ในระหว่างที่ เข้ารับการฝึกวิชาทหารให้ถือว่าเป็นทหารกองประจำการ) ๓. นักเรียนทหารซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็นนายทหารประทวน (นักเรียนนายสิบ, นักเรียนจ่า, นักเรียนจ่าอากาศ) ผู้บังคับบัญชา และผู้ใหญ่เหนือตนก. ความหมายของคำว่า “ผู้บังคับบัญชา”“ผู้บังคับบัญชา” หมายความว่าผู้ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ปกครองดูแลทุกข์สุขของทหาร ทั้งรับผิดชอบในความประพฤติ การฝึกสอน อบรม การลงทัณฑ์ ตลอดจนสั่งการแก่ผู้ใต้ บังคับบัญชา และให้ความดีความชอบแก่ทหารได้ ผู้บังคับบัญชาแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) ผู้บังคับบัญชาโดยตรง มีอยู่คนเดียวคือ ผู้บังคับบัญชาที่อยู่ใกล้ชิดที่สุดสำหรับดูแลสุขทุกข์ของผู้ใต้บังคับบัญชา เช่นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของพลทหารในหมู่หนึ่ง ๆ ก็คือ ผบ.หมู่นั้น ๆ ผู้บังคับบัญชาโดยตรงของ ผบ.หมู่ คือ ผบ.หมวด และผู้บังคับบัญชาโดยตรงของ ผบ.หมวด คือ ผบ.ร้อย เป็นต้น ๒) ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น หมายถึงผู้บังคับบัญชาตั้งแต่อันดับสูงถัดขึ้นไปจากผู้บังคับบัญชาโดยตรง เช่น ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นของพลทหารในหมู่หนึ่ง ๆ ได้แก่ ผบ.หมวด, ผบ.ร้อย, ผบ.พัน, ผบ.กรม, ผบ.พล, แม่ทัพ และ รมว.กห. ซึ่งเป็นการเรียงลำดับจากต่ำ ไปหาสูงตามตำแหน่งที่ปรากฏในตารางกำหนดชั้นผู้ลงทัณฑ์ และผู้รับทัณฑ์ท้ายมาตรา ๑๐ ส่วนหน่วยทหารที่มีการจัดหน่วย และเรียกตำแหน่งไม่ตรงตามตำแหน่งดังกล่าว ให้พิจารณาจากอัตราการจัดของหน่วย และสายการบังคับบัญชาของหน่วยนั้น ๆ เป็นหลักในการจัดลำดับ ชั้นของผู้บังคับบัญชา ข. ความหมายของคำว่า “ผู้ใหญ่เหนือตน”“ผู้ใหญ่เหนือตน” หมายความว่า ผู้ที่มียศสูงกว่าหรือมีตำแหน่งสูงกว่า แต่ไม่มีอำนาจบังคับบัญชา เพียงแต่มีสิทธิในการว่ากล่าวตักเตือนผู้น้อยในทางที่ชอบผู้ใหญ่เหนือตน ได้แก่ ผู้ที่อยู่ในสังกัดเดียวกัน แต่มิใช่ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ที่อยู่ในสังกัดเดียวกันแต่ต่างสายการบังคับบัญชา หรือผู้ที่อยู่ต่างสังกัด ต่างเหล่าทัพ เป็นต้น ข้อสังเกตสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งรอง หรือผู้ช่วยของหัวหน้าส่วนราชการ หรือหน่วยใด ๆ นั้น มักมีผู้เข้าใจไขว้เขวอยู่เสมอ ว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงบ้าง เป็นผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นบ้าง ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วย มีหน้าที่ช่วยเหลือการบริหารงานของหัวหน้าส่วนราชการ หรือ ผบ.หน่วย นั้น ๆ เท่านั้น

ทัณฑ์ทางวินัย มี ๕ สถาน (มาตรา ๘)
ทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดต่อวินัยทหาร ให้มีกำหนดเป็น ๕ สถาน โดยเรียงจากเบา ไปหาหนัก คือ ก. ภาคทัณฑ์ ข. ทัณฑกรรม ค. กัก ง. ขัง จ. จำขัง
ภาคทัณฑ์ คือผู้กระทำผิดมีความผิดอันควรต้องรับทัณฑ์สถานหนึ่งสถานใด ดังกล่าวมาแล้ว แต่มีเหตุอันควรปรานี จึงเป็นแค่แสดงความผิดของผู้นั้นให้ปรากฏ หรือให้ทำทัณฑ์บนไว้ (สำหรับ “เหตุอันควรปรานี” ควรใช้เหตุที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ เป็นแนวทางประกอบดุลพินิจของผู้บังคับบัญชา)ทัณฑกรรม คือการให้กระทำการสุขา การโยธา ฯลฯ เพิ่มจากหน้าที่ประจำซึ่งตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจำ (โดยมีหลักเกณฑ์ในคำอธิบายท้ายตารางกำหนดทัณฑ์ว่า ทัณฑกรรมที่กำหนดไว้เป็นวัน ๆ หมายความว่า ทำทัณฑกรรมทุก ๆ วัน จนกว่าจะครบกำหนดในวันหนึ่งนั้น ผู้ที่จะสั่งลงทัณฑ์จะกำหนดทัณฑกรรมได้ไม่เกินกว่าวันละ ๖ ชั่วโมง แต่ถ้าให้อยู่เวรยาม ในวันหนึ่งไม่เกินกำหนดเวลาอยู่เวรยามตามปกติ ผู้ใดจะสั่งลงทัณฑกรรม ให้กำหนดให้ชัดเจนว่า ทัณฑกรรมกี่วัน และวันละเท่าใด สำหรับผู้กระทำผิดวินัยและเป็นผู้รับทัณฑ์สถานนี้ได้คือ ผู้รับทัณฑ์ชั้น ซ และ ฌ ได้แก่ นักเรียนทหารและพลทหาร)กัก คือ กักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามแต่จะกำหนดให้ ขัง คือ ขังในที่ควบคุมแต่เฉพาะคนเดียวหรือรวมกันหลายคนแล้วแต่จะได้มีคำสั่ง จำขัง คือ ขังโดยส่งไปฝากให้อยู่ในความควบคุมของ
เรือนจำทหาร
ผู้มีอำนาจลงทัณฑ์ทางวินัย (มาตรา ๑๐)
ผู้มีอำนาจลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำผิดทางวินัยมี ๒ ประเภท คือ ก. ผู้บังคับบัญชา (โดยตรงและตามลำดับชั้น) หรือ ข. ผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจให้บังคับบัญชาตามที่ กห. ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อ กห., ทบ., ทร., หรือ ทอ. กำหนด หลักสำคัญก็คือ ผู้มีอำนาจลงทัณฑ์ได้นั้น จะต้องเป็นผู้มีอำนาจบังคับบัญชาเสียก่อน เป็นเบื้องแรก ในกรณีที่ผู้สั่งลงทัณฑ์คือ ผู้บังคับบัญชา ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงหรือ ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น มักไม่มีปัญหาในทางปฏิบัติเพราะเป็นการสั่งโดยผู้มีอำนาจตาม กฎหมายในการบังคับบัญชา ส่วนผู้ซึ่งได้รับมอบ อำนาจบังคับบัญชา นั้น โดยปกติจะมิใช่ผู้บังคับบัญชา ดังนั้น การมอบอำนาจแก ่ผู้ซึ่งมิใช่ผู้บังคับบัญชาให้มีอำนาจเสมือนเป็นผู้บังคับบัญชาและมีอำนาจลงทัณฑ์ ได้นั้น จะต้องเป็นไปตามกฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น เพราะหากการมอบอำนาจไม่ถูกต้อง หรือไม่ชอบ ด้วยกฎหมายเสียแล้ว ก็เท่ากับมิได้มีการมอบอำนาจ การกระทำการใด ๆ หรือการสั่งการย่อมเป็นการ กระทำที่ปราศจากอำนาจและไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย สำหรับการมอบอำนาจที่เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กฎหมายกำหนด แยกพิจารณาได้ ดังนี้ ก. การมอบอำนาจตามที่ กห.กำหนด ได้แก่ ๑) ข้อบังคับ กห.ว่าด้วยการสั่งการและประชาสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๗ (ผนวก ก.) เป็น ข้อบังคับที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการมอบอำนาจ ๓ กรณี คือ กรณีตำแหน่งว่างลงโดยยังไม่มีการ แต่งตั้งผู้ใดดำรงตำแหน่งให้แต่งตั้งผู้รักษาราชการชั่วคราว, กรณีผู้ดำรงตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้เป็นครั้งคราว ให้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนชั่วคราวและกรณีตำแหน่งว่างลงหรือผู้ดำรง ตำแหน่งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นครั้งคราวแล้วยังมิได้แต่งตั่งข้าราชการผู้ใดรักษาราชการหรือ รักษาราชการแทน ให้ รอง, ผู้ช่วย หรือ เสนาธิการ ทำการแทน เป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ผู้รับมอบอำนาจ ดังกล่าวย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่งที่ตนรักษาราชการ รักษาราชการแทน หรือทำการแทนนั้น ๆ ซึ่งหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามข้อบังคับ กห. ฉบับนี้เป็นหลักเกณฑ์โดยทั่ว ๆ ไป สำหรับทุกหน่วยงานใน กห.ที่ต้องยึดถือปฏิบัติ ๒) ข้อบังคับ กห.ว่าด้วยการศึกษาในต่างประเทศ พ.ศ.๒๕๒๗ เป็นข้อบังคับซึ่ง กำหนดหลักเกณฑ์ในการปกครองบังคับบัญชาระหว่างศึกษาในต่างประเทศ กล่าวคือ ข้าราชการ ทหารที่ไปศึกษาในต่างประเทศ ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ซึ่งต้องอยู่ในระเบียบวินัย และ ปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมทหารทุกประการ และให้อยู่ในความปกครองบังคับบัญชาของผู้ช่วยทูต ฝ่ายทหารประจำประเทศนั้น หรือผู้ที่ กห.มอบอำนาจให้ปกครองบังคับบัญชาตั้งแต่วันรายงานตัว เมื่อเดินทางไปถึงจนกระทั่งเดินทางกลับ ๓) ระเบียบ กห.ว่าด้วยโรงเรียนเหล่าทหารพระธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๒๗ ซึ่งมี หลักเกณฑ์คือ โรงเรียนเหล่าทหารพระธรรมนูญ (รร.ธน.) มีผู้บัญชาการโรงเรียนเหล่าทหาร พระธรรมนูญ (ผบ.รร.ธน.) เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ โดยเจ้ากรมพระธรรมนูญ (จก.ธน.) เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนเหล่าทหารพระธรรมนูญโดยตำแหน่ง สำหรับผู้ที่เข้าศึกษาอบรมใน รร.ธน. ในระหว่างการศึกษาอบรม ผู้เข้าศึกษาอบรมคงอยู่ในสังกัดเดิม แต่ให้อยู่ในปกครองบังคับบัญชา ของ ผบ.รร.ธน.ข. การมอบอำนาจตามที่กองทัพบกกำหนด คือ การมอบอำนาจตามระเบียบ ทบ. ว่าด้วยการมอบอำนาจ บังคับบัญชา พ.ศ.๒๕๑๓ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการมอบอำนาจโดยสรุปดังนี้ ๑) การมอบอำนาจบังคับบัญชา กระทำได้ ๓ วิธี คือ กระทำด้วยหนังสือ กระทำ ด้วยวาจา หรือกระทำด้วยเครื่องมือสื่อสาร ๒) กรณีที่มอบอำนาจบังคับบัญชา มีดังนี้ ก) ไปปฏิบัติราชการ ข) ไปร่วมปฏิบัติราชการ ค) ไปช่วยราชการ ง) ไปศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ จ) ไปฝึกอบรมในสถานฝึกอบรมของทหาร ฉ) ไปป่วยในโรงพยาบาลทหาร ช) ไปพักในสถานพักฟื้นของทหาร ซ) กรณีอื่น ๆ ๓) การมอบอำนาจบังคับบัญชาบุคคล หรือส่วนราชการใดที่สังกัด ทบ. ให้แก่ บุคคล หรือส่วนราชการนอก ทบ. จะพิจารณาเป็นราย ๆ ไป ๔) ผู้รับมอบอำนาจบังคับบัญชา มีอำนาจสั่งการตามข้อบังคับ กห. ว่าด้วยการ สั่งการและประชาสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๗ ๕) การมอบอำนาจบังคับบัญชา ให้ผู้มอบอำนาจระบุให้ผู้รับมอบอำนาจ มีอำนาจ สั่งการเกี่ยวกับความชอบ การลงทัณฑ์ การลา หรือเรื่องอื่น ๆ ได้ตามที่เห็นสมควร ๖) การมอบอำนาจบังคับบัญชา ให้กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดแห่งการ มอบอำนาจไว้ด้วย ค. การมอบอำนาจตามที่กองทัพเรือกำหนด คือ การมอบอำนาจตามคำสั่ง ทร. ที่ ๓๑๑/๒๕๑๓ เรื่อง มอบอำนาจบังคับบัญชา ลง ๒๙ ต.ค.๑๓ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการมอบ อำนาจโดยสรุปดังนี้ ๑) บุคคลที่ผู้บังคับบัญชาที่เป็น หน.ส่วนราชการขึ้นตรง ทร.ขึ้นไป สั่งให้ไปช่วย ปฏิบัติราชการ รับการฝึก หรือศึกษาอบรมในส่วนราชการอื่นใน ทร. ให้ผู้นั้นอยู่ในบังคับบัญชาของ ผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่ตนไปช่วยปฏิบัติราชการ, รับการฝึก หรือศึกษา ตลอดระยะเวลาที่ไป ช่วยปฏิบัติราชการ รับการฝึก หรือศึกษาอบรม ๒) สำหรับบุคคลที่ถูกสั่งให้ไปช่วยปฏิบัติราชการต่างส่วนราชการขึ้นตรง ทร. หาก มีความจำเป็นทางราชการ หน.ส่วนราชการขึ้นตรง ทร. ที่ผู้นั้นไปช่วยปฏิบัติราชการจะสั่งให้ผู้นั้นไป ขึ้นอำนาจบังคับัญชาของผู้ที่อยู่ในตำแหน่งชั้นรองของตน ซึ่งมียศอาวุโสสูงกว่าผู้ที่ไปช่วยปฏิบัติ ราชการนั้นก็ได้ ๓) อำนาจการบังคับบัญชา ตาม ก. และ ข. หมายถึง อำนาจสั่งการในเรื่องเกี่ยวกับ หน้าที่ราชการที่ได้รับมอบหมายให้ช่วยปฏิบัติราชการ, รับการฝึก หรือศึกษาอบรมตลอดจนอำนาจใน การลงทัณฑ์ การอนุญาตลากิจ และลาป่วย ง. การมอบอำนาจตามที่กองทัพอากาศกำหนด คือ การมอบอำนาจตามระเบียบ ทอ. ว่าด้วยการปกครองบังคับบัญชา พ.ศ.๒๕๒๖ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการมอบอำนาจโดยสรุปดังนี้ ๑) “การปกครองบังคับบัญชา” หมายถึง การที่ผู้บังคับบัญชาใช้อำนาจในการ ปกครองดูและหน่วยทหาร และหรือกำลังพลที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของตนภายในขอบเขตของ กฎหมาย และแบบธรรมเนียมที่กำหนดไว้ รวมทั้งอำนาจในการสั่งลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยด้วย ๒) หน่วยแยกหรือหน่วยสมทบที่ไปอยู่ในเขตพื้นที่ของหน่วยขึ้นตรง ทอ. หรือ หน่วยแยกที่ตั้ง ณ ต่างจังหวัด ให้อยู่ในการบังคับบัญชาของหน่วยขึ้นตรง ทอ. หรือหน่วยแยกที่เป็น เจ้าของเขตพื้นที่นั้น ๓) กำลังพลที่ไปปฏิบัติราชการหรือช่วยราชการในหน่วยขึ้นตรง ทอ. หรือหน่วยแยก ให้อยู่ในปกครองบังคับบัญชาของหน่วยนั้น ๔) กำลังพลที่เข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาของ ทอ. ให้อยู่ในการปกครองบังคับ บัญชาของสถานศึกษานั้น ๕) หน่วยขึ้นตรง ทอ. หรือหน่วยแยก หรือสถานศึกษาที่มีอำนาจปกครองบังคับบัญชา หากสั่งการในด้านการปกครองเกี่ยวกับการลงโทษ หรือลงทัณฑ์ทางวินัยแก่กำลังพลที่ไปปฏิบัติราชการ หรือช่วยราชการ หรือเข้ารับการศึกษาต้องแจ้งให้ต้นสังกัดผู้ต้องรับโทษหรือรับทัณฑ์นั้น ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ข้อสังเกตแม้ว่าแต่ละหน่วยจะมีหลักเกณฑ์ในการมอบอำนาจแตกต่างกันไปบ้างก็เป็นเพียง การแตกต่างในรายละเอียดเท่านั้น ส่วนในหลักการและความมุ่งหมายคงเป็นไปในแนวเดียวกันคือ เพื่อให้การมอบอำนาจบังคับบัญชาเป็นไป ตามที่กฎหมายบัญญัติและเพื่อให้ผู้ได้รับมอบอำนาจ สามารถใช้อำนาจบังคับบัญชาได้ เช่นเดียวกับผู้บังคับบัญชานั่นเอง
เกณฑ์เทียบชั้นผู้ลงทัณฑ์และผู้รับทัณฑ์
________________________________________
การที่ผู้บังคับบัญชาชั้นใดจะมีอำนาจลงทัณฑ์ชั้นใด และผู้อยู่ในบังคับบัญชาชั้นใดจะเป็น ผู้รับทัณฑ์ชั้นใดนั้น ต้องถือตามที่กำหนดไว้ในตารางเทียบชั้นตาม มาตรา ๑๐ วรรคท้าย ดังนี้
ตารางเกณฑ์เทียบผู้ลงทัณฑ์และผู้รับทัณฑ์
ตำแหน่งชั้น เป็นผู้ลงทัณฑ์
ชั้น เป็นผู้รับทัณฑ์
ชั้น
๑. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ๑
๒. แม่ทัพ ๒
๓. ผู้บัญชาการกองพล ผู้บังคับการกองเรือ ผู้บัญชาการกองพลบิน ๓
๔. ผู้บังคับการกรม ผู้บังคับหมวดเรือ ผู้บังคับกองบิน ๔ ก
๕. ผู้บังคับหมู่เรือชั้น ๑ ๕ ข
๖. ผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับหมู่เรือชั้น ๒ ผู้บังคับการเรือชั้น ๑ ผู้บังคับฝูงบิน ๖ ค
๗. ผู้บังคับหมู่เรือชั้น ๓ ผู้บังคับการเรือชั้น ๒ ต้นเรือชั้น ๑ ผู้บังคับหมวดบินชั้น ๑ ๗ ง
๘. ผู้บังคับกองร้อย ผู้บังคับการเรือชั้น ๓ ต้นเรือชั้น ๒ นายกราบเรือ ผู้บังคับหมวดบินชั้น ๒ ๘ จ
๙. ผู้บังคับหมวด ต้นเรือชั้น ๓ ผู้บังคับหมวดบินชั้น ๓ ๙ ฉ
๑๐. ผู้บังคับหมู่ นายตอน - ช
๑๑. นักเรียนทหารซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร / บุคคลผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างเข้ารับการฝึกวิชาทหารโดยคำสั่ง รมว.กห.ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร - ซ
๑๒. นักเรียนทหารซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้เป็นนายทหารประทวน ลูกแถว - ฌ
เพื่อสะดวกแก่การพิจารณา ขอแยกเกณฑ์การเทียบชั้นตามตารางดังกล่าวให้ชัดเจน โดยแยกให้เห็นว่า ผู้ลงทัณฑ์ ได้แก่ ผู้ดำรงในตำแหน่งใดและสามารถลงทัณฑ์ในชั้นใด ส่วนผู้รับทัณฑ์ ได้แก่ผู้ดำรงในตำแหน่งใด และจะต้องรับทัณฑ์ในชั้นใด กล่าวคือ ผลจากการกำหนดชั้นของผู้มีอำนาจลงทัณฑ์ (กำหนดเป็นตัวเลข) และการกำหนดชั้นผู้รับทัณฑ์ (กำหนดเป็นตัวอักษร) ตามตารางดังกล่าวสรุปได้ว่า ผู้ที่มีอำนาจสั่งลงทัณฑ์ทหารได้นั้นคือ ผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับ รมว.กห. ลงมาจนถึง ผบ.หมวด (ลำดับ ๑-๙) เท่านั้น ส่วนลำดับ ๑๐ คือ ผบ.หมู่ แม้จะมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาทหารระดับหมู่ ก็ไม่อำนาจสั่งลงทัณฑ์ เพราะกฎหมายมิได้ระบุให้อำนาจไว้ ส่วนผู้ต้องรับทัณฑ์ทางวินัย กฎหมายระบุให้เป็นผู้รับทัณฑ์ได้คือ ผู้มีตำแหน่งตั้งแต่ ผบ.กรม ลงมาจนถึงลูกแถว (ชั้น ก.–ชั้น ฌ.) เท่านั้น จึงไม่อาจลงทัณฑ์ ทางวินัยแก่ผู้มีตำแหน่งตั้งแต่ ผบ.พล ขึ้นไปได้ เพราะกฎหมายมิได้ระบุให้เป็นผู้รับทัณฑ์
สำหรับตารางเกณฑ์เทียบชั้นผู้ลงทัณฑ์และผู้รับทัณฑ์ จะต้องใช้ประกอบกับตารางกำหนดทัณฑ์ ซึ่งอยู่ท้ายกฎหมายฉบับนี้ ทั้งนี้เพราะว่าการที่ผู้บังคับบัญชาชั้นใด มีอำนาจสั่งลง ทัณฑ์แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยใช้ทัณฑ์สถานใดและมีกำหนดเท่าใดนั้น จะต้องเป็นไปตามตาราง กำหนดทัณฑ์ระบุไว้เท่านั้น ดังนั้นในการลงทัณฑ์ทางวินัย จะต้องใช้ตารางเกณฑ์เทียบชั้นผู้ลงทัณฑ์ และผู้รับทัณฑ์ท้าย มาตรา ๑๐ ประกอบกับตารางกำหนดทัณฑ์ท้ายกฎหมายฉบับนี้เสมอ
การเทียบตำแหน่งผู้ลงทัณฑ์และผู้รับทัณฑ์ (มาตรา ๑๑)
ในการลงทัณฑ์ทางวินัยนั้น ถ้าผู้สั่งลงทัณฑ์หรือผู้ต้องรับทัณฑ์นั้น มีตำแหน่งตรง ตามที่กำหนดไว้ในตารางเทียบชั้นตามที่ปรากฏใน มาตรา ๑๐ วรรคท้ายแล้ว ย่อมไม่มีปัญหา ในทางปฏิบัติ เพียงแต่ตรวจสอบตำแหน่งของผู้ลงทัณฑ์ และผู้รับทัณฑ์ว่าตรงตาม ตำแหน่งใด ก็สามารถดำเนินการได้ตามตารางกำหนดทัณฑ์ ในส่วนที่มีปัญหาก็คือกรณีที่ ผู้สั่งลงทัณฑ์หรือ ผู้รับทัณฑ์มีตำแหน่งไม่ตรงตามตารางดังกล่าว เนื่องจากมีการ จัดหน่วยที่แตกต่างกัน ในกรณี เช่นนี้ ให้ถือตามที่ได้เทียบตำแหน่งไว้ในข้อบังคับ กห.ว่าด้วยตำแหน่ง และการเทียบตำแหน่ง บังคับบัญชาข้าราชการกลาโหม พ.ศ.๒๕๐๑ (ผนวก ข.)
ข้อพึงระลึกในการลงทัณฑ์
การลงทัณฑ์ทางวินัยเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย และเป็นไปในทางให้โทษแต่ผู้ใต้บังคับบัญชา ดังนั้นก่อนจะลงทัณฑ์ผู้ใด ผู้บังคับบัญชาจะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนแน่นอน ว่าผู้รับทัณฑ์มีความผิดจริง โดยจะต้องชี้แจงให้ผู้กระทำผิดทราบด้วยว่าได้กระทำผิดในข้อใด เพราะเหตุใดแล้วจึงสั่งลงทัณฑ์ ทั้งนี้ ต้องระวังอย่าให้ลงทัณฑ์โดยโทสะจริต หรือลงทัณฑ์แก่ผู้ไม่มีความผิดโดยชัดเจนเป็นอันขาด (มาตรา ๑๓) สำหรับทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทำผิด ต้องเป็นทัณฑ์สถานใดสถานหนึ่งในทัณฑ์ ๕ สถานเท่านั้น ห้ามมิให้คิดทัณฑ์ขึ้นใหม่ หรือใช้วิธีลงทัณฑ์อย่างอื่นนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด (มาตรา ๙ วรรคท้าย) ในการสั่งลงทัณฑ์แต่ละสถานนั้น ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาแต่ละชั้นมีอำนาจใน การสั่งลงทัณฑ์แต่ละสถาน เช่น กัก ขัง หรือจำขัง มีกำหนดลดหลั่นกันไป โดยยึดถือตำแหน่งของผู้รับทัณฑ์มาประกอบ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามตารางกำหนดทัณฑ์ท้ายกฎหมายนี้ (มาตรา ๑๐ วรรคสอง) อีกทั้งยังต้องยึดถือตารางเกณฑ์เทียบชั้นผู้ลงทัณฑ์ และผู้รับทัณฑ์ท้ายมาตรา ๑๐ เป็นหลักพิจารณาว่าผู้มีอำนาจบังคับบัญชาในตำแหน่งใด ที่เป็นผู้ลงทัณฑ์ชั้นใดบ้าง และผู้อยู่ในบังคับบัญชาตำแหน่งใด สามารถเป็นผู้รับทัณฑ์ชั้นใดบ้าง (มาตรา ๑๐ วรรคสาม) ซึ่งเท่ากับเป็นการบังคับว่าผู้บังคับบัญชาแต่ละลำดับชั้น มีอำนาจสั่งลงทัณฑ์ได้เฉพาะที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นการจำกัดทั้งกำหนดเวลมาตรา ๕ (๑) ดื้อ ขัดขืน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาในการลงทัณฑ์ และจำกัดทั้งวิธีการในการลงทัณฑ์ไว้ โดยชัดเจน ว่าจะต้องอยู่ในอำนาจของตนเท่านั้น

ข้อพิจารณาเกี่ยวกับความผิดบางลักษณะที่มีองค์ประกอบคล้ายกัน : ฐานขัดคำสั่ง
พ.ร.บ. วินัยทหาร ป.อาญาทหาร
มาตรา ๕ (๑) ดื้อ ขัดขืน หรือละเลย ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา มาตรา ๓๐ ผู้ใดเป็นทหาร และมันขัดขืน หรือละเลยมิกระทำตามคำสั่ง
ข้อพิจารณาเกี่ยวกับความผิดบางลักษณะที่มีองค์ประกอบคล้ายกัน : ฐานละทิ้งหน้าที่
มาตรา ๕ (๕) เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่ราชการ
พ.ร.บ. วินัยทหาร ป.อาญาทหาร
มาตรา ๕ (๕) เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่ราชการ มาตรา ๒๙ ผู้ใดเป็นทหาร ท่านใช้ให้อยู่ยามรักษาการณ์ก็ดี ท่านมอบหมายให้กระทำตามบังคับ หรือคำสั่งอย่างใด ๆ ก็ดี และถ้ามันละทิ้งหน้าที่นั้นเสีย
เมื่อเปรียบเทียบลักษณะความผิดตามกฎหมายทั้ง ๒ ฉบับ ดังกล่าวมีข้อพิจารณา ดังนี้
ก. ความผิดฐานขัดคำสั่งที่ถือว่าเป็นความผิดต่อประมวลกฎหมายอาญาทหารนั้น ตามมาตรา ๔ บัญญัตินิยามศัพท์ คำว่า “คำสั่ง” หมายความว่า บรรดาข้อความที่ซึ่งผู้บังคับ บัญชาทหารผู้ถืออำนาจอันสมควร เป็นผู้สั่งไปโดยสมควรแก่กาลสมัย และชอบด้วยพระราช กำหนดกฎหมาย คำสั่งเช่นว่านี้ท่านว่า เมื่อผู้ได้รับคำสั่งนั้นได้กระทำตามแล้ว ก็เป็นอันหมด เขตของการที่สั่งนั้น จากบทนิยามศัพท์ดังกล่าว “คำสั่ง” ตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร มีองค์ประกอบ ดังนี้
๑) เป็นคำสั่งที่ผู้บังคับบัญชา เป็นผู้สั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย
๒) คำสั่งเช่นว่านี้ ถ้าได้กระทำตามแล้วก็เป็นอันหมดเขตของการสั่งนั้น ซึ่งหมายความว่า เป็นคำสั่งที่มีระยะเวลาเริ่มต้น และเวลาสิ้นสุดมิใช่คำสั่งที่มีลักษณะต้องปฏิบัติตลอดไป

ดังนั้นถ้าคำสั่งใดที่ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้สั่ง และคำสั่งมีลักษณะดังกล่าวข้างต้น ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ได้รับทราบคำสั่งแล้วขัดขืนละเลยไม่กระทำตามคำสั่ง ก็เป็นความผิดต่อ ประมวลกฎหมายอาญาทหาร ซึ่งเป็นคำสั่งที่มีลักษณะเจาะจงเช่น สั่งให้ใคร ทำอะไร หรือปฏิบัติอะไร โดยคำสั่งดังกล่าวต้องมีการปฏิบัติ และมีการสิ้นสุด เมื่อผู้ได้รับคำสั่งได้ปฏิบัติการตามคำสั่งนั้นแล้ว ถือว่าเสร็จสิ้นภารกิจที่ได้รับคำสั่ง แต่ถ้าผู้บังคับบัญชาออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ซึ่งขัดขืนละเลยไม่ปฏิบัติตาม ก็ไม่มีความผิดฐานขัดคำสั่งตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาสั่งห้ามมิให้ผู้ใต้บังคับบัญชา กระทำในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติห้ามไว้แล้ว ถ้ามีการฝ่าฝืนก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานขัดคำสั่ง ตามประมวล กฎหมายอาญาทหาร เช่น
คำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่สั่งห้ามมิให้ยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุสมควร การที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร เพราะถึงแม้ผู้บังคับบัญชามิได้มีคำสั่ง จำเลยก็มีหน้าที่ต้องงดเว้น ไม่ฝ่าฝืนกฎหมายในเรื่องนี้อยู่แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าคำสั่งนี้ได้สั่งเพื่อประโยชน์ในราชการตามหน้าที่ของผู้สั่ง แต่อย่างใด คำสั่งนี้จึงไม่เป็นคำสั่งตามความหมายของมาตรา ๔ แห่งประมวลกฎหมายอาญาทหาร ดังนั้น ความผิดฐานขัดคำสั่งในกรณีนี้ จึงต้องตีความคำสั่ง “คำสั่ง” โดยเคร่งครัดตามบทนิยามศัพท์ เพราะเป็นความผิด ทางอาญาข) ส่วนความผิดฐานขัดคำสั่งที่ถือว่าเป็นความผิดต่อวินัยทหาร ไม่มีบทนิยามศัพท์อธิบายคำว่า "คำสั่ง" ไว้ชัดเจนเช่น ความผิดทางอาญา ดังนั้นหากผู้บังคับบัญชามีคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้เป็นการสั่งการแก่ทหารทั่วไป ซึ่งคำสั่งนั้นมิได้มีลักษณะเฉพาะเจาะจงต่อทหารผู้ใดผู้หนึ่ง ทั้งยังเป็นคำสั่งที่ใช้ได้ตลอดไป โดยไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด ยกเว้นจะมีการยกเลิก เช่นนี้ ทหารที่ขัดขืนละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งในลักษณะหลังนี้ถือว่าเป็น ความผิดต่อวินัยทหาร แต่ไม่เป็นความผิดอาญา เช่น คำสั่ง กห. ที่ ๑๔๔/๓๕ เรื่อง จำกัด การเสพสุราของข้าราชการ ลง ๑๗ ก.พ.๓๕ (ผนวก ฎ.) ซึ่งใช้บังคับแก่ข้าราชการทหาร และลูกจ้าง โดยมีคำสั่งเกี่ยวกับการจำกัดการเสพสุรา เพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่นิยมการเสพสุราไปก่อคดีอาญา อันนำมาซึ่งความเสื่อมเกียรติแก่ทางราชการค) สำหรับความผิดฐานละทิ้งหน้าที่ในส่วนของกฎหมายวินัยทหารบัญญัติว่า ละทิ้งต่อหน้าที่ราชการ ซึ่งหมายถึงหน้าที่ราชการที่ได้รับมอบ อันเป็นความหมายที่กล่าวไว้กว้าง ๆ แต่ในส่วนของกฎหมายอาญาทหารบัญญัติว่า ทหารซึ่งเป็นยามรักษาการณ์หรือ ได้รับมอบหมายให้กระทำตามบังคับหรือคำสั่งอย่างใด ๆ ถ้าละทิ้งหน้าที่นั้นเสีย ดังนั้น คำว่าละทิ้งหน้าที่ในความหมายของกฎหมายอาญาทหาร จึงหมายรวมถึงหน้าที่ยามรักษาการณ์ หน้าที่ที่ได้รับมอบให้ทำตามบังคับหรือทำตามคำสั่งอย่างใด ๆ แล้วได้ละทิ้งหน้าที่ไป อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงถือเป็นความผิดต่อกฎหมายอาญาทหาร เมื่อพิจารณาถึงลักษณะความผิดทางอาญาซึ่งบัญญัติไว้เฉพาะส่วน การละทิ้งหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร ได้กล่าวไว้กว้าง ๆ โดยมิได้เจาะจงแต่ก็มีข้อความคล้ายคลึงกับความผิด ทางอาญา การที่จะพิจารณาว่าละทิ้งหน้าที่อย่างใดเป็นความผิดทางวินัย และละทิ้งหน้าที่อย่างใดเป็นความผิด ทางอาญา ก่อนอื่นต้องพิจารณาว่าหน้าที่นั้นมีความสำคัญมากน้อยเพียงใดหรือไม่ ประการต่อมา ผลการละทิ้งหน้าที่ก่อให้เกิดผลเสียหายเล็กน้อยหรือเสียหายอย่างร้ายแรงต่อทางราชการ ซึ่งถ้าเป็นหน้าที่ที่ไม่สำคัญ และการละทิ้งหน้าที่ไปไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายหรือเสียหายเพียงเล็กน้อย ก็เป็นเพียงความผิดต่อวินัยทหาร แต่ถ้าหากเป็นหน้าที่ที่มีความจำเป็นและสำคัญ ทั้งผลของการละทิ้งหน้าที่ไปนั้น ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อทางราชการแล้ว ย่อมเป็นความผิดต่อกฎหมายอาญาทหาร
การกระทำอย่างไรที่ถือว่าเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ จะต้องพิจารณาถึง “การกระทำผิด” เป็นอันดับแรก และพิจารณาถึง “ผลที่เกิดขึ้น” จากการกระทำนั้นเป็นลำดับต่อมา ถ้าการกระทำผิดเป็นเรื่องสำคัญ และผลที่เกิดขึ้น จากการกระทำนั้นส่งผลเสียหายต่อทางราชการอย่างร้ายแรงเช่นนี้ ย่อมไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย ไม่สำคัญ ผู้บังคับบัญชาไม่อาจใช้อำนาจตาม มาตรา ๘ มาลงทัณฑ์ทางวินัยแก่ผู้กระทำผิดได้ จะ ต้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดในทางอาญาต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญาทหาร มาตรา ๒๑ ที่บัญญัติว่า “ผู้ใดเป็นนายเรือ ท่านใช้ให้ควบคุมเรือของทหาร และกระทำการ หรือปล่อยให้เรือชำรุด หรืออับปางด้วยความประมาท ให้จำคุกไม่เกิน ๓ ปี” ซึ่งการ กระทำตามมาตรานี้ก็คือ นายเรือควบคุมเรือของทหาร โดยประมาท แล้วกระทำหรือปล่อยให้เรือชำรุด ผลของการกระทำคือถ้าเรือนั้นชำรุดเสียหายไม่มาก ก็ย่อมพิจารณาได้ว่าเป็นการ เล็กน้อยไม่สำคัญ แต่ถ้าการควบคุมเรือโดยประมาทนั้น เป็นผลให้เรืออับปาง เสียหายทั้งลำ เกิดผลเสียหายนับล้านบาท เช่นนี้ย่อมพิจารณาได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญ และไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย [1] เจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่ให้อำนาจผู้บังคับบัญชาในการพิจารณาว่าความผิดอาญา บางลักษณะเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ก็ให้ลงทัณฑ์ได้นั้น มิได้เป็นการช่วยเหลือผู้กระทำผิด แต่เป็นการช่วยเหลือในด้านการปกครองบังคับบัญชาทหาร อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจของ ผู้บังคับบัญชาตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา ๘ มีข้อบัญญัติยกเว้นไว้ว่า ถ้าผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการสั่งให้ส่งตัวผู้กระทำผิดไปดำเนินคดีในศาลทหารหรือ ในศาลพลเรือนตาม กฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร ก็ให้เป็นไปตามนั้น เพราะผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการคือ ผู้บังคับบัญชาทหารซึ่งได้รับมอบพระราชอำนาจจากพระมหากษัตริย์ ให้เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนตุลาการศาล ทหารชั้นต้น [2] อันได้แก่ ก. ผบ.จทบ. เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาล จทบ. ข. ผบ.มทบ. เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาล มทบ. ค. ผู้มีอำนาจบังคับบัญชาหน่วยทหาร เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการศาล ประจำหน่วยทหาร ง. รมว.กห. เป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการ ศท.ก.ท. [3] จากข้อยกเว้นดังกล่าวจะเห็นว่าการที่จะชี้ขาดว่า การกระทำผิดอย่างใดเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ หรือไม่หรือควรส่งคดีฟ้องศาลนั้น กฎหมายมุ่งหมายให้ผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ดังนั้นในทางปฏิบัติ จึงเป็นการจำเป็นที่ผู้บังคับบัญชาจะต้องส่งสำนวนการสอบสวน ไปยังอัยการทหาร เพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการเป็นผู้วินิจฉัย โดยผู้บังคับบัญชาหาควรวินิจฉัยสั่งการเสียเองไม่ การที่ผู้บังคับบัญชาสั่งลงทัณฑ์ทางวินัยแก่ผู้กระทำผิดในลักษณะตามมาตรา ๘ ไปก่อนนั้น หาได้ตัดอำนาจผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการ ในการที่จะส่งตัวผู้กระทำผิดไปดำเนินคดียังศาลทหารได้ เพราะความผิด ดังกล่าวเป็นความผิดอาญา และผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการ เป็นผู้ได้รับมอบพระราชอำนาจในด้านศาลทหารโดยเฉพาะ ยกตัวอย่าง เช่น จำเลยมีหน้าที่เป็นนายสิบเวรกองร้อย ในระยะเวลาอันเป็นหน้าที่ราชการของจำเลย จำเลยได้ละทิ้งหน้าที่ออกจากกองร้อยไป ระหว่างจำเลยละทิ้งหน้าที่ไปได้มีคนร้ายลักเอาปืนกลเบาไป ๕ กระบอก ผู้บังคับกองร้อย และผู้บังคับกองพัน ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยเห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานผิดวินัย จึงลงทัณฑ์ขังจำเลย ๑๕ วัน จำเลยต้องขังครบ ๑๕ วันแล้ว เจ้าหน้าที่กองร้อยรับตัวออกจากเรือนจำ ครั้นต่อมาได้ทำการสอบสวนและฟ้องจำเลยเป็นคดีขึ้น ศาลฎีกาพิเคราะห์ว่า ความผิดของจำเลยต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา ๒๙ (๓) การที่จำเลยเป็นสิบเวรกองร้อย แล้วละทิ้งหน้าที่ไป ในระหว่างจำเลย ละทิ้งหน้าที่ไปได้มีคนร้ายลักเอาปืนกลเบาไปถึง ๕ กระบอก ย่อมไม่ใช่เป็นการเล็กน้อย ไม่สำคัญ เพราะปืนกลเบาถึง ๕ กระบอก มีราคาสูง ปืนเป็นอาวุธสำคัญของทหาร คำสั่งลงทัณฑ์นั้น จะอนุโลมเป็นการเปรียบเทียบคดีไม่ได้ และไม่ตัดอำนาจผู้มีอำนาจแต่งตั้งตุลาการที่สั่งให้ฟ้องจำเลย [4] คำว่า “ให้ส่งตัวผู้กระทำความผิดไปดำเนินคดีในศาลทหาร หรือจะมีการดำเนินคดีนั้น ในศาลพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร” นั้น หมายความว่าเป็นคดีที่ต้องดำเนินคดีในศาลทหาร หรือศาลพลเรือนที่ทำหน้าที่เป็นศาลทหาร ในกรณีที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก และผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึก ได้มีประกาศให้ศาลพลเรือนที่อยู่ในพื้นที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ทำหน้าที่เป็นศาลทหาร สำหรับพิจารณาความผิดตามที่ระบุท้ายประกาศเท่านั้น การใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชาในกรณีนี้ จึงไม่อาจใช้กับความผิดที่ต้องขึ้นศาลพลเรือน
กรณีที่เป็นความผิดลหุโทษและความผิดที่เปรียบเทียบได้ ความในประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา ๙ หมายความว่า หลักเกณฑ์ ที่ให้อำนาจผู้บังคับบัญชาพิจารณาว่า การกระทำผิดเป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ ก็ให้ลงทัณฑ์ทางวินัยได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๘ นั้น ให้นำไปใช้ในกรณีที่ทหารกระทำ ความผิดลหุโทษ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา หรือกฎหมายอื่นที่มีระวางโทษ ไม่เกินความผิดลหุโทษ ตลอดจนความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย ซึ่งแยกพิจารณาได้ ดังนี้ ความผิดลหุโทษ คือ ความผิดที่ระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับ ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๐๒) ซึ่งได้แก่ ความผิดลหุโทษที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ภาค ๓ ตั้งแต่ มาตรา ๓๖๗ – ๓๙๘ รวม ๓๒ มาตรา ซึ่งบางมาตรามีเพียงโทษปรับสถานเดียว และบางมาตรามีทั้งโทษปรับ และโทษจำคุกความผิดลหุโทษ ถึงแม้จะมีโทษเพียงเล็กน้อย แต่ก็ไม่ใช่ความผิดที่ยอมความกันได้
ความผิดที่เปรียบเทียบได้ ความผิดที่เปรียบเทียบได้ เป็นความผิดที่มีลักษณะตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. การเปรียบเทียบคดีอาญา พ.ศ.๒๔๘๑ มาตรา ๔ และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การเปรียบเทียบคดีอาญา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๒๙ กล่าวคือ ในความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความลหุโทษ หรือคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว อย่างสูงไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท ให้พนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนคดีนั้น มีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๘ ความผิดที่เปรียบเทียบได้ตามกฎหมาย คือความผิดลักษณะ ดังต่อไปนี้ ก. ความผิดลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงไม่เกินความผิดลหุโทษ (จำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท) ข. คดีที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
ค. คดีซึ่งเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายอื่น ความมุ่งหมายของการเปรียบเทียบ (ปรับ) คดีอาญา ก็เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับความสะดวก และไม่เสียเวลาในการประกอบอาชีพ กฎหมายจึงให้อำนาจพนักงานสอบสวน ทำการเปรียบเทียบคดีอาญาที่เป็นความผิดในลักษณะดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล ในความผิดที่มีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูง สำหรับความผิดนั้นก่อนศาลพิจารณา หรือในความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ หรือในคดีซึ่งเปรียบเทียบได้ตามกฎหมายอื่นนั้น เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่เปรียบเทียบแล้ว คดีอาญาเป็นอันเลิกกัน [5] ความผิดทั้งสองลักษณะดังกล่าว คือความผิดลหุโทษ และความผิดที่เปรียบเทียบได้ อันเป็นความผิดที่ผู้บังคับบัญชาสามารถลงทัณฑ์แก่ผู้กระทำได้นั้น ประการแรก จะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ของมาตรา ๗ เสียก่อน กล่าวคือผู้กระทำผิดต้องเป็นทหาร ประการต่อมาจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา ๘ ด้วย กล่าวคือ ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเห็นว่า เป็นการเล็กน้อยไม่สำคัญ และถือว่าเป็นความผิดต่อวินัยทหารด้วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความผิดลหุโทษ และความผิดที่เปรียบเทียบได้ เป็นความผิดอาญาที่ไม่ร้ายแรงและมีอัตรา โทษไม่สูง ทั้งกฎหมายยังให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนทำการเปรียบเทียบได้ ซึ่งมีผลทำให้คดีอาญาเลิกกันไป ก่อนที่คดีจะขึ้นสู่ศาล ซึ่งส่วนใหญ่คดีจะระงับไป ตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน โอกาสที่คดีความผิดดังกล่าว จะมาถึงผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาใช้อำนาจตามมาตรา ๘ จึงมีน้อยมาก ๓. เปรียบเทียบความผิดบางลักษณะของประมวลกฎหมายอาญาทหาร กับกฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร กฎหมายว่าด้วยวินัยทหาร เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงการที่ทหารต้องอยู่ในวินัยทหาร และหากกระทำผิดวินัยก็จะถูกลงทัณฑ์ทางวินัย ส่วนประมวลกฎหมายอาญาทหาร เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาซึ่งใช้บังคับแก่ทหารโดยตรง เท่ากับว่ากฎหมายทั้ง ๒ ฉบับนี้มีลักษณะของการกระทำผิด และวิธีปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ระหว่างความผิดทางวินัยกับความผิดทางอาญา แต่ความจริง แล้วความผิดบางลักษณะในกฎหมายทั้ง ๒ ฉบับนี้ มีความคล้ายคลึงและใกล้เคียงกันมาก ทั้งในด้านถ้อยคำ ตัวบท และลักษณะของความผิด ซึ่งก่อให้เกิดความไขว้เขวในทางปฏิบัติ การกระทำอย่างใดเป็นความผิดวินัยอย่างใดเป็นความผิดคดีอาญา และอาจก่อให้เกิดปัญหา เกี่ยวกับการสั่งการของผู้บังคับบัญชาทำให้คลาดเคลื่อน ไม่เป็นไปตามกฎหมายได้ เช่นความผิดฐานขัดคำสั่ง และความผิดฐานละทิ้งหน้าที่ จึงขอนำตัวบทกฎหมาย มาเปรียบเทียบกันดังนี้

ข้อสอบวิชาผู้นำทางทหาร

ครูทหาร – ผู้นำ
ถาม แบบหรือวิธีสอนที่ใช้เป็นหลักในทางทหารนั้น จำเป็นต้องให้นักเรียนปฏิบัติด้วย ครูจึงต้องรู้เทคนิคการสอน ต่าง ๆ และวิธีปฏิบัติที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูง มีกี่วิธีอะไรบ้าง
ตอบ ๓ วิธี คือ ๑. วิธีสอนเชิงบรรยาย ๒. วิธีสอนเชิงประชุม ๓. วิธีสอนเชิงแสดง
ถาม การสอนโดยวิธีการบรรยาย ไม่เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนก้าวหน้าใช้ความคิดหรือเหตุผล ควรใช้สำหรับ การเรียนสูง ๆ ที่มีความสามารถทางกาย ทางใจ ทางสมอง มีความคิดอ่านและสติปัญญาค้นคิดสาเหตุด้วยตนเองได้แล้วปกติจะใช้สอนในโอกาสใด
ตอบ ๑.นักเรียนจำนวนมาก, ๒.เรื่องที่สอนมากแต่เวลามีน้อย,๓. เพื่อสอนหลักการเบื้องต้น , ๔. เริ่มต้นการสอนวิธีอื่นๆ , ๕. สรุปเรื่องที่สอน
ถาม การสอนเชิงประชุมเป็นวิธีสอนที่ให้โอกาสนักเรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น โดยการถามคำถามแก่ นักเรียน ใช้ความคิดความริเริ่ม และเหตุผลของตนเอง เป็นการเร้าใจให้สนใจต่อบทเรียนตลอดเวลาการสอนวิธี นี้เหมาะที่จะใช้ในโอกาสใด
ตอบ ๑. นักเรียนทุกระดับชั้นเรียน ๒. นักเรียนน้อยมีเรื่องสอนน้อย ๓. มีเวลามากพอในการซักถาม
ถาม การเตรียมเรื่องที่จะพูดให้ตรงกับความมุ่งหมาย , ใช้ศิลปะในการพูด , แบ่งเรื่องที่สอนออกเป็นตอน ๆ , เมื่อจบตอนหนึ่ง ๆ ให้นักเรียนซักถาม ตั้งปัญหาให้นักเรียนอภิปรายหรือถามให้นักเรียนตอบ,ใช้กระดานดำเป็นเครื่องประกอบการสอน , ใช้อุปกรณ์การสอนเรื่อง ๆ อย่างเหมาะสม พยายามใช้ภาษาง่าย ๆ และลำดับเรื่องให้ต่อเนื่องซึ่งกันและกัน ข้อความดังกล่าวคืออะไร
ตอบ ข้อแนะนำในการสอนเชิงบรรยาย
ถาม ประโยชน์ของการสอนเชิงประชุมมีอะไรบ้าง
ตอบ ๑. นักเรียนจะต้องระวังตัวเพื่อตอบคำถามตลอดเวลา
๒. นักเรียนใช้ความคิดและสนใจต่อบทเรียนอยู่เสมอ
๓. ครูทราบความรู้และความเข้าใจของนักเรียน
๔. แก้ไขความเข้าใจผิดของนักเรียนโดยทันทีทันใด
๕. ให้โอกาสนักเรียนและแสดงทัศนคติ
ถาม การแสดงเป็นวิธีการสอนโดยผ่านประสาทหลายทางโดยเฉพาะ “การเห็น” นับว่าเป็นประการสำคัญที่สุดในการ เร้าความสนใจต่อการเรียน การที่นักเรียนได้เห็นจะเป็นเครื่องขจัดความเคลือบแคลงสงสัยของนักเรียนที่มีอยู่ และสามารถกระทำได้ด้วยตนเอง จึงแบ่งแบบของการแสดงออกเป็น ๕ แบบ คือ
ตอบ ๑. แสดงวิธีปฏิบัติ ๒. แสดงยุทโธปกรณ์ ๓. แสดงในสนาม
๔. แสดงด้วยภาพยนตร์-วิดีโอ ๕. แสดงบนเวที
ถาม ความมุ่งหมายของการแสดง จะบังเกิดประสิทธิภาพในการสอนจะต้องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
ตอบ ๑. รู้จักวิธีทำ ๒. ทฤษฎีและหลักการ ๓. การทำงานของเครื่องกลไก
๔. การปฏิบัติทางยุทธวิธี ๕. วิธีปฏิบัติงานร่วมกัน ๖. การเห็นคุณค่าแสดงด้วยความนุ่มนวล
ถาม ประโยชน์การแสดงจะเป็นจริงหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการวางแผน และการสอนของครู การแสดงที่ไม่ดีจะบังเกิด
ผลเสียยิ่งไปกว่าไม่มีการแสดงเลยเสียอีก การแสดงจะให้บังเกิดประสิทธิภาพ ครูต้องมีความเข้าใจว่า
ตอบ ๑. การแสดงใช้เพื่อความมุ่งหมายอะไร ๒. การแสดงจะใช้แบบใด ๓. การวางแผนและการดำเนินการแสดงจะใช้เทคนิคอย่างไร
ถาม บุคคลที่สามารถพูดได้อย่างฉาดฉาน และมีศิลปะในการพูดดีมักจะประสบความสำเร็จเสมอความสามารถใน การพูดดี ยังมีความสำคัญในการสอนที่จะก่อให้เกิดผลดีอีกด้วย ศิลปะในการพูดดีควรมีหลักเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างไร
ตอบ ๑. การสัมผัสระหว่างครูกับนักเรียน ๒. ข่มความประหม่าตื่นเต้น ๓. ลักษณะทาทางที่ดีเสมอ ๔. หลีกเลี่ยงลักษณะท่าทางที่ไม่เหมาะสม
๕. มีความกระตือรือร้น ๖. การใช้เสียงเหมาะสม ๗. หลีกเลี่ยงการออกตัว ๘. การพัฒนานิสัยการพูดให้มีประสิทธิภาพ
ถาม เทคนิคการพูดครูจะต้องสร้างการสัมผัสและรักษาสัมผัสกับนักเรียนทั้งห้องตลอดเวลา โดยมีคำแนะนำที่จะช่วย ให้ประสบความสำเร็จคือ
ตอบ ๑. พูดเมื่อนักเรียนตั้งใจฟังแล้ว ๒. มองและพูดกับนักเรียน ๓. พูดเช่นเดียวกับการสนทนา ๔. ต้องทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเสมอ
ถาม ความตื่นเต้นทั้งขณะก่อนหรือขณะปรากฏตัวครั้งแรกที่หน้าชั้นครูเกือบจะทุกคนได้เคยประสบความประหม่า เทคนิคบางอย่างซึ่งใช้ในการข่มความประหม่าได้แก่
ตอบ ๑. ต้องเตรียมการสอน และวางแผนการสอนมาอย่างดี ๒. มีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและนักเรียน ๓. เตรียมการกล่าวนำเริ่มต้นมาเป็นอย่างดี ๔. ทบทวนบทเรียนที่สอนมาแล้ว ๕. เล่าเรื่องตลกขบขัน ๖. จงสุขุมและพูดช้าลงกว่าเดิมถาม
ถาม การวางท่าเหมาะสมครูจะต้องยืนในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นนักเรียนได้ทั้งชั้นและนักเรียนทั้งชั้นก็สามารถ มองเห็นครูได้ชัดเจนต้องยืนท่าตรงทิ้งน้ำหนักตัวเองระหว่าง เท้าทั้งสองวางท่าให้มองดูแล้วมีความกระฉับกระเฉงและกระปรี้กระเปร่าอย่าเกร็งเพราะตั้งใจเกินไปยืนอย่างสบายปล่อยให้แขนทั้งสองข้างหย่อนลงข้างลำตัวถ้าไม่จำเป็นต้องใช้มือก็ปล่อยละข้างลำตัวจะไขว้หลังหรือวางมือข้างหนึ่งไว้บนที่ยืนพูดก็ได้อย่าบิดแขนไปมาในลักษณะตื่นเต้นตกใจ กฏเกณฑ์เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ควรจดจำ คือ
ตอบ ๑. อย่ายืน ณ จุดเดียวตลอดเวลา ๒. อย่าเคลื่อนไหวหรือเดินไปมาตลอดเวลาเมื่อจะเคลื่อนไหวก็ต้องให้มีความกระฉับกระเฉง และมีความมุ่งหมาย เมื่อปฏิบัติจนเกิดความชำนาญและคล่องตัวแล้วก็จะพบว่าการเคลื่อนไหวที่ไม่มีความหมายจะเต็มไปด้วยความหมายมากขึ้น
ถาม กฏที่ครูจะต้องจำ ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ ที่จะเป็นสาเหตุให้นักเรียนให้ความสนใจต่อลักษะท่าทางของครูมากกว่าวิชาที่สอนลักษณะที่ควรหลีกเลี่ยงคือ
ตอบ ๑. ยืนลักษณะคนกลลังจะสิ้นใจ(ยืนผิงผนัง แสดงอาการไม่มีเรี่ยวแรง)
๒. ยืนมือกุมใต้เข็มขัด ๓. เดินไปมาไม่หยุด ๔. ยืนหย่อนขาท่าพักสลับกัน
๕. ยืนมือล้วงกระเป๋า ๖. ยืนถือไม้ชีอยู่เสมอ
๗. ลักษณะอื่น ๆ ที่ทำให้เสียบุคลิกลักษณะ
ถาม ความกระตือรือร้นเป็นอาการที่ชวนให้ผู้อื่นพลอยกระตือรือร้นไปด้วย เป็นลักษณะเด่นชัดหรือเมื่อไรก็ตามที่ ผู้อื่นกำลังทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เขาจะรู้ศึกชื่นชอบอย่างจริงใจ มูลเหตุที่จะก่อให้ครูเกิดความกระตือรือร้น คือ
ตอบ ๑. มีความรู้เรื่องที่กำลังสอนโดยตลอด ๒. รู้ประโยชน์ของเรื่องที่สอน ซึ่งจะเกิดแก่นักเรียน
ถาม การใช้เสียงของครูเป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์การสอนที่ดีที่สุดเพราะเป็นวิธีตรงที่จะสื่อความรู้ความเข้าใจกับ นักเรียนมีองค์ประกอบ ๒ประการซึ่งเป็นพื้นฐานของการพูดเก่ง คือ
ตอบ ๑. คุณภาพของเสียงคือจังหวะในการพูด ระดับเสียง ความดังของเสียง
๒. พูดเข้าใจง่ายโดยการเลือกใช้คำพูด รูปประโยชน์หรือสำนวนที่ใช้ พูดให้ชัดเจนถูกต้องทั้งภาษาและสำเนียง คิดขณะพูด
ถาม การพัฒนานิสัยการพูดให้มีประสิทธิภาพ คือ
ตอบ ๑. เข้าใจติชม ๒. มาตรฐานการพูด สร้างมาตรฐานการพูดของตนเอง
๓. ฝีกพูดให้ดีตลอดเวลา
ถาม การพัฒนานิสัยการพูดให้มีประสิทธิภาพโดยการสร้างมาตรฐานการพูด คือ
ตอบ ๑. วิเคราะห์การพูดของตนเอง
๒. ให้เพื่อช่วยวิจารณ์
๓. ฟังเทปการพูดของตนเอง
๔. ส่งเริมจุดเด่นที่ตนมีอยู่แล้ว
๕. ศึกษาจุดด้อยของตนและแก้ไขให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ถาม คุณภาพของเสียงเป็นลักษณะพิเศษที่ทำให้เสียงของบุคคลแตกต่างกันบางคนเสียงน่าฟัง บางคนไม่น่าฟัง อย่างไรก็ตามครูส่วนมากก็มีน้ำเสียงที่สามารถทำให้ผู้ฟังพึงพอใจได้ เสียงที่ไม่มีเสียงสูงต่ำ มีผลทำให้นักเรียน เฉื่อยชา การออกเสียงสูงต่ำจะช่วยเหลือในการขจัดเสียงระดับเดียว การเน้นในสิ่งที่ควรเน้นทำให้การสอนมี ชีวิตชีวา และเปิดช่องให้ระดับเสียงขึ้น ๆ ลง ๆ น่าฟัง จึงต้องศึกษาคุณภาพของเสียงคือ
ตอบ ๑. ระดับเสียง ๒. ความดังของเสียง ๓. จังหวะการพูด
ถาม การเตรียมการสอนของครูที่ดีจะบรรลุความมุ่งหมายได้ ครูจะต้องรู้หลักและแนวทางในการเตรียมการสอนของ ตนเอง คือ
ตอบ ๑. การพิจารณาความมุ่งหมายของทบเรียน ๒. พิจารณาเนื้อหาเรื่องที่จะสอน
๓. พิจารณาวิธีดำเนินการสอน ๔. เตรียมแผนบทเรียน
๕. การซ้อม ๖. การตรวจสอบครั้งสุดท้าย
ถาม การวิเคราะห์เรื่องที่จะสอน และการหาวิธีเฉพาะที่จะเพิ่มหัวข้อการสอน วิธีต่าง ๆ อาจจะเป็นตัวอย่างหลักฐาน อ้างงอิง สถิติ และอื่น ๆ ให้มีความสมจริงยิ่งขึ้น หมายถึงหัวข้ออะไร
ตอบ การพิจารณาเนื้อหาเรื่องที่จะสอน
ถาม การจัดลำดับเรื่องที่สอนและวิธี เทคนิคที่จะทำให้นักเรียนเข้าใจง่าย หมายถึงหัวข้ออะไร
ตอบ การพิจารณาวิธีดำเนินการสอน
ถาม การตรวจอุปกรณ์ทุกอย่างที่จะใช้ให้ในการสอน,ที่นั่ง,แสงสว่าง,หน้าที่ของผู้ช่วยครู,เครื่องช่วยฝึกทุกชนิดต้อง พร้อม,แผนบทเรียน,หลักฐานการสอนต่างๆการแต่งกายของครูแลผู้ช่วยครูเรียบร้อยข้อความดังกล่าวหมายถึง ขั้นตอนอะไร
ตอบ การตรวจสอบครั้งสุดท้าย
ถามแผนบทเรียนเป็นหลักฐานที่ครูจัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือในการสอนแต่ละบทเรียนประกอบด้วยเรื่องทางธุรการ เกี่ยวกับบทเรียนซึ่งเป็นส่วนตัวหัวข้อสำคัญในการสอนซึ่งมีทั้งข้อใหญ่และข้อย่อย โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อ
ตอบ ๑. จัดลำดับขั้นตอนที่เหมาะสม ๒. เลือกเรื่องที่สอนอย่างดี
๓. แบ่งเวลาได้อย่างเหมาะสม ๔. เลือกวิธีการสอน
๕. การใช้อุปกรณ์การสอนดี ๖. เป็นหลักฐานในการสอน
๗. เป็นแนวทางการสอนของครู
ถาม กระบวนการที่เราใช้ทุกคำถาม เร้าให้ผู้ถูกทดสอบแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบออกมาหลังจากจบการสอนบทเรียนใดบทเรียนหนึ่งแล้วผลของการทดสอบที่ได้มักจะมีค่าเป็นตัวเลข มากน้อย แทนคุณลักษณะของผู้ถูกทดสอบในแต่ละเรื่องนั้นเป็นนิยามศัพท์ของอะไร
ตอบ การทดสอบ
ถาม ความมุ่งหมายของการทดสอบกระทำเพื่อวัตถุประสงค์ ๔ ประการคือ
ตอบ ๑. เพื่อช่วยในการปรับปรุงในการสอน ๒. เร้าใจต่อการเรียน
๓. เป็นหลักการกำหนดระดับเรียน ๔. เป็นหลักในการเลือดแนะแนว
ถาม การประเมินผลเป็นกระบวนการพิจารณาดัดสินใจในข้อมูลที่วัดได้จากการวัดว่าเป็นไปตามความประสงค์หรือ ถูกต้องมากน้อยเพียงไรจึงแบ่งแบบของการประเมินผลเป็น ๓ ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ตอบ ๑. การทดสอบข้อเขียน
๒. การทดสอบปฏิบัติ
๓. การประเมินค่าด้วยการสังเกตุ
ถาม แบบของการทดสอบที่ใช้กันโดยทั่วไปมี ๒ ชนิดคือ
ตอบ ๑. แบบทดสอบอัตนัย เป็นแบบทดสอบที่ผู้ตอบคำถามหรือปัญหาด้วยการเขียนบรรยายมาก ๆ ในเวลาที่กำหนดให้ ข้อสอบแบบนี้จะมีจำนวนน้อยข้อ ลักษณะคำถามจะเป็นข้อความสั้น ๆ
๒. แบบทดสอบปรนัยเป็นแบบทดสอบที่กำหนดให้สั้น ๆ หรือเลือกตอบข้อสอบเหล่านี้มีหลายรูปแบบ เช่น ถูก-ผิด, จับคู่, เลือกคู่ เติมคำหรือข้อความ กรอกรายการให้ความหมาย
ถาม การทดสอบที่เป็นการวัดนักเรียนว่าสามารถทำในสิ่งที่มอบหมายให้ได้เพียงใด เช่นอาจให้ปรนนิบัติบำรุง ซ่อม ถอดประกอบอาวุธยุทโธปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง และมีการตรวจสอบความเร็วคุณภาพของงาน การทดสอบดังกล่าวเป็นการทดสอบแบบอะไร
ตอบ การทดสอบปฏิบัติ
ถาม ลักษณะของข้อสอบที่ดีประกอบด้วยปัจจัย ๖ ประการ ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ จะต้องนำมาพิจารณา ร่วมกันทั้งหมด คือ
ตอบ ๑. มีความเที่ยงตรงถูกต้อง ๒. มีความเชื่อถือได้ ๓. มีความเป็นปรนัย
๔. มีอำนาจจำแนกสูง ๕. ออกทั่วที่สอน ๖. สะดวกในการใช้
ถาม ความปรารถนาในการทำการรบของทหาร ปัจจัยที่มีผลกระทบกระเทือนต่อประสิทธิภาพในการรบความกลัว ข่าวลือ การตื่นตระหนกตกใจ ความมีน้ำใจในเชิงรุก การฟื้นฟูประสิทธิภาพในการสู้รบ การสนับสนุนหน่วยที่ แยกออกไปปฏิบัติหน้าที่อย่างโดดเดี่ยว ข้อความที่กล่าวเป็นหัวข้ออะไร
ตอบ ความเป็นผู้นำในการรบ
ถาม ปัจจัยที่มีผลกระทบกระเทือนต่อประสิทธิภาพในการรบที่มีผลต่อความสามารถในการทำการรบของหน่วยนั้นคืออะไร
ตอบ ความกลัว ความตื่นตระหนกตกใจ ความท้อใจ ความโดดเดี่ยว และการที่ทหารขาดความเชื่อมั่น ในตัวเอง
ถามการกลัวเป็นสิ่งยุ่งยากที่จะทำให้ทหารที่มีประสาทตรึงเครียดและมีความตกใจกลัวเกิดจากปฏิกิริยาการทำงาน ทางเคมีภายในร่างกายเมื่อเขาต้องตกอยู่ในภาวะตกใจกลัวเป็นเวลาอันยาวนาน ในที่สุดก็อาจจะกลายเป็นคนที่ หมดความสามารถในการสู้รบและขวัญเสีย หรืออาจเป็นอัมพาตไปเลยก็ได้ ทหารสามารถขจัดความกลัวได้ คือ
ตอบ การฝึกที่มีประสิทธิภาพและความมีวินัยเป็นอย่างดี
ถาม การบอกกล่าวกันถึงเรื่องราวต่าง ๆ อันไม่ทราบต้นตอของเรื่องนั้น ๆ โดยแน่นอน ซึ่งสามารถจะแผ่กระจายออก ไปได้อย่างง่ายดาย เรื่องราวต่าง ๆ ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่มีเหตุผลตามสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ มักจะแพร่ สะพัดไปได้อย่างรวดเร็ว ข้อความที่กล่าวนั้นหมายถึงอะไร
ตอบ ข่าวลือ
ถาม มาตรการในการควบคุมข่าวลือโดยเฉพาะซึ่งสามารถนำไปใช้กับข่าวลือต่าง ๆ ได้ทุกชนิด คือ
ตอบ ๑. การจัดให้มีโครงการแถลงข่าวที่มีประสิทธิภาพ
๒. จัดให้มีการกระจายข่าวสารเกี่ยวกับแผนการ
๓. ค้นหาและพยายามกำจัดภาวะการณ์
๔. แจ้งเรื่องให้ทหารทราบเกี่ยวกับข่าวลือต่าง ๆ
๕. เสริมสร้างให้ทหารแต่ละคนเกิดความเชื่อมั่นในตัวผู้นำของตน
ถาม ผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นควรจะได้จดจำและพยายามแก้ไข เพื่อลดสภาวะการณ์ต่างๆ ที่จะให้เกิดความไม่แน่ใจ และความตื่นตระหนกใจให้มีเพียงแต่น้อยที่สุด คือ
ตอบ ๑. สภาวะทางวัตถุ ความขาดแคลนอาวุธและกระสุน การมีอาวุธยิงสนับสนุนไม่พอเพียง
๒. สภาวะทางจิตวิทยา เป็นสิ่งที่อันตรายเป็นความทุกข์ใจ ความไม่ปลอดภัย
๓. สภาพของขวัญ คิดถึงบ้าน การไม่มีบริการติดต่อทางไปรษณีย์ ความเบื่อหน่าย
๔. สภาวะทางยุทธวิธี การแตกสลายของหน่วย การสูญเสียอย่างหนัก ความพ่ายแก้ ความขัดแย้งของคำสั่งการต่าง ๆ
๕. สภาพของความเป็นผู้นำ การไม่อยู่ของผู้นำหน่วย การสูญเสียผู้นำที่ดีไปและการขาดความเชื่อมั่นในขีดความสามารถของผู้นำหน่วยต่าง ๆ
ถาม การควบคุมการตื่นตระหนกตกใจผู้บังคับบัญชาจำเป็นจะต้องแสดงให้ทหารเห็นตนเองว่าเป็นผู้ที่ใจเย็น มีความ เชื่อมั่น มีลักษณะท่าทางและทัศนคติที่กล้าหาญ และมีการปฏิบัติการทั้งในหน้าที่ของตนและในหน้าที่ของผู้บังคับหน่วยรองอย่างเด็ดขาด และจะต้องกำจัดความตื่นตระหนกตกใจให้สงบลงได้โดยปฏิบัติการ ดังนี้
ตอบ ๑. จับกุมทหารที่กำลังวิ่งหนีเพื่อให้หยุด
๒. ใช้อาวุธขู่บังคับทหารที่กำลังวิ่งหนี
๓. การยิงปืนข้ามศีรษะของทหารที่กำลังวิ่งหนี
๔. ถ้าใช้วิธีทั้งหมดที่กล่าวมากลัวไม่ได้ผล ให้ยิงไปที่ทหารที่กำลังวิ่งหนีนั้น ผู้บังคับบัญชาที่ใช้หนทางปฏิบัตินี้ จะต้องพยายามทำเพียงเพื่อให้เกิดบาดเจ็บเท่านั้น และต้องไม่ให้เป็นอันตรายจนถึงแก่เสียชีวิตด้วย
ถาม การพัฒนาความห้าวหาญในหน่วยทหารนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ
ตอบจะต้องเสริมสร้างความปรารถนาในการเข้าประชิดและทำลายข้าศึกให้เกิดมีขึ้นส่วนใหญ่แล้วการพัฒนาความห้าวหาญจะบรรลุผลสำเร็จได้ก็โดยการจัดให้ทหารได้รับการฝึกอย่างช่ำชอง โดยการอบรมให้ทหารและหน่วยทหารเกิดความเชื่อมั่น
ถาม การเข้ายึดที่หมายต่าง ๆ ให้ได้นั้นในบางครั้งจะขึ้นอยู่กับการฟื้นฟูประสิทธิภาพของหน่วยที่ถูกข้าศึกทำให้อ่อน กำลังลง ด้วยการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ การวางที่ตั้งกองหนุนและส่วนสนับสนุนอย่างถูกต้องและมีการมอบหมายภารกิจให้กับหน่วยต่าง ๆ ตามขีดความสามารถของหน่วยนั้น การรักษาไว้ซึ่งประสิทธิภาพในการรบ ผู้นำหน่วยต่าง ๆ ควรจะต้อง
ตอบ ๑. มั่นใจได้ว่าสายการบังคับบัญชาไม่ได้ขาดตอนลง
๒. ดำรงไว้ซึ่งกำลังหนุนเนื่อง และใช้อำนาจการยิง
๓. ปลูกฝังให้ทหารมีทัศนคติในการรุกและมีความปราถนาที่จะกเข้าทำลายข้าศึก
๔. ใช้การยิงสนับสนุน เพื่อเพิ่มเติมอำนาจการยิงของอาวุธในอัตราให้บังเกิดผล
๕. สอนให้หน่วยทหารรู้จักการอาศัยการยิงสนับสนุนเมื่อทำการเข้าตี
๖. สอนให้ทหารรู้จักการพูดเร่งเร้าให้ทหารคนอื่น ๆ สนใจ และคอยช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเคลื่อนที่
๗. ทำการฝึกเพื่อปรับปรุงสมรรถภาพในการใช้อาวุธและการดำเนินกลยุทธทางยุทธวิธีให้มีสมรรถภาพดีขึ้น
๘. เน้นหลักถึงวินัยในสนามรบและความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล
๙. แสดงตัวอย่างให้ทหารเห็นในเรื่องที่ตนต้องการให้ทหารปฏิบัติตาม
ถาม ประสิทธิภาพในการสู้รบของหน่วยย่อมจะลดลงไปหลังจากที่ได้ปฏิบัติการรบติดต่อกันมาเป็นเวลานานและ ในระหว่างที่อยู่ในห้วงเวลาที่ไม่มีการปฏิบัติการรบ หน่วยต่าง ๆ ที่มีการสูญเสียกำลังทหารและยุทโธปกรณ์ไป เป็นจำนวนมากนั้นย่อมต้องการมีเวลาเข้าไปประจำอยู่เป็นกองหนุนที่จะรอการทดแทนกำลังและการจัด ระเบียบใหม่ ข้อความดังกล่าวหมายถึง
ตอบ การฟื้นฟูประสิทธิภาพในการสู้รบ
ถาม วิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดประการหนึ่งเกี่ยวกับการฟื้นฟูให้หน่วยทหาร ซึ่งประสบความล้มเหลว คือ
ตอบ หน่วยต้องมีการฝึกเพื่อเพิ่มเติม มีการสับเปลี่ยนตัวบุคคลในหน่วย และหน่วยค่อย ๆ ปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ที่ยากลำบากคืบหน้าขึ้นไปที่ละน้อย ๆ ตามลำดับก็ได้
ถาม ครูมีบทบาทสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของนักเรียนมาก ภารกิจของครูจึงเป็นภารกิจที่หนักต้องมีความอดทน อดกลั้น ต้องใช้สมอง กำลังกาย กำลังใจ คิดหาลู่ทางวิธีการ ที่จะสอนให้ผู้อื่น มีความรู้ความชำนาญ และสามารถนำวิทยาการที่ได้ศึกษาไปใช้ให้บังเกิดผล ถ้าการสอนของครูไร้ผล ครูควรมีข้อระลึกไว้ประการหนึ่งว่าอย่างไร ?
ตอบ “ ถ้าการเรียนของนักเรียนไม่ได้ผล ครูนั่นเองสอนไม่ได้ผล”
ถาม การเรียนถ้าได้สัมผัสด้วยประสาททั้งห้าได้ คือ จักษุประสาท โสตประสาท นาสิกประสาท ชิวหาประสาท กายประสาท จะทำให้มีความเข้าใจได้เร็วเท่านั้น แต่การสอนอย่างน้อยที่สุดจะต้องได้ผ่านประสาททางอะไรบ้าง
ตอบ จักษุประสาท และ โสตประสาท
ถาม การเตรียมตัวของครู,การสอน,การนำไปปฏิบัติ,การตรวจสอบและการวิจารณ์อยู่ในระบบอะไรของวิชาครูทหาร
ตอบ ระบบการสอน
ถาม ในการสอนหมายถึงวิธีดำเนินการสอนในแบบต่างๆ มีกี่แบบอะไรบ้าง
ตอบ ๓ แบบ คือ ๑. สอนโดยวิธีบรรยาย ๒. สอนเชิงประชุม ๓. สอนโดยการแสดงให้ดู
ถาม หลักเบื้องต้นของการสอน เป็นเครื่องนำทางให้ครูเลือกใช้วิธีการสอน , อุบายและเทคนิคในการสอนให้ได้ผลดี มีกี่ประการ อะไรบ้าง
ตอบ ๖ ประการ คือ ๑. เร้าความสนใจ ๒. บอกความมุ่งหมาย ๓. เรียนด้วยการปฏิบัติ ๔. ความสมจริง ๕. พื้นความรู้เดิม ๖. จักคุณค่า
ถาม ลักษณะของครูที่ดี มีอะไรบ้าง
ตอบ ๑. มีความรู้ดี ๒. รู้จักเทคนิคการสอน ๓. มีบุคลิกดี ๔. มีความเป็นผู้นำ ๕. มีจิตใจเป็นครู
ถาม การที่รู้จักเทคนิคการสอน สังเกตการสอนของครูคนอื่น วิเคราะห์ลักษณะของตนเอง เพ่งเล็งปัจจัยต่างๆ ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ให้ติชมหรือวิจารณ์ และพยายามปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ โดยตลอดเวลา ข้อความที่กล่าวมาเป็นการปฏิบัติอย่างไรของครู
ตอบ การปรับปรุงตนเองของครู
ถาม การสอนของครูที่ดีนอกจากหลักเบื้องต้นของครูแล้ว แต่ก็อาจจะมีการผิดพลาดได้จึงมีข้อแนะนำสำหรับครู คือ
ตอบ มีความรู้ที่สอนในบทเรียนโดยตลอด, อย่าพูดกระทบกระเทือนหรือเยาะเย้ย, อย่าพูดยกตนข่มท่าน, ต้องมีความอดทนทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการสอน
ถาม ผู้นำพิจารณาได้ ๒ ทาง คือ ๑. ทางทหาร ๒. โดยทั่วไป คำจำกัดความของความเป็นผู้นำทางทหาร คืออะไร
ตอบ ศิลปะในการจูงใจและอำนวยการให้ทหารปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จโดยมีความเชื่อฟังอย่างเต็มใจ ความมั่นใจ ความนับถือ และความร่วมมืออย่างจริงใจ
ถาม บุคคลที่มีอำนาจสูงสุดในสำนักงาน และได้รับการแต่งตั้งเป็นทางการหรือเป็นบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาตามที่กฎหมายหรือระเบียบกำหนดไว้ ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอำนวยการปฏิบัติงานของหน่วยระดับ กองร้อย หรือหน่วยระดับที่สูงกว่าขึ้นไป ข้อความดังกล่าวหมายถึงบุคคลใด
ตอบ ผู้บังคับบัญชา
ถาม บุคคลที่มี ขวัญ คือสภาพทางจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติ ของบุคคลที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทั้ง ปวง ที่เกิดขึ้นกับตน วินัย คือกรอบหรือระเบียบซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติ เช่นการเชื่อฟังคำสั่ง ความรักหมู่คณะ คือ ความจงรักภักดี ความภาคภูมิใจ ความศรัทธา ต่อหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ที่สมาชิก หรือบุคคล แสดงออกมาให้เห็น และ สมรรถภาพ คือ ความสามารถ ของบุคคลและของหน่วยทั้งในทางเทคนิค ทางยุทธวิธี และทางร่างกาย ความหมายดังกล่าวบ่งบอกถึงอะไร
ตอบ สิ่งที่ชี้ความเป็นผู้นำ
ถาม คุณลักษณะของผู้นำ ที่พิจารณาว่าสำคัญ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ ๑. การวางท่าทาง ๒. ความกล้าหาญ ( ทางกาย , ทางใจ ) ๓. ความเด็ดขาด ๔. ความเป็นผู้เชื่อถือได้ ๕. ความอดทน ๖. ความกระตือรือร้น ๗. ความริเริ่ม
๘. ความซื่อสัตย์ ๙. วิจารณญาณ ๑๐. ความยุติธรรม ๑๑. ความรู้ ๑๒.ความจงรักภักดี ๑๓. กาลเทศะ ๑๔. ความไม่เห็นแก่ตัว
ถาม ลักษณะของข้อสอบที่ดีประกอบด้วยปัจจัย ๖ ประการ ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ จะต้องนำมาพิจารณา ร่วมกันทั้งหมด คือ
ตอบ ๑. มีความเที่ยงตรงถูกต้อง ๒. มีความเชื่อถือได้ ๓. มีความเป็นปรนัย
๔. มีอำนาจจำแนกสูง ๕. ออกทั่วที่สอน ๖. สะดวกในการใช้
ถาม ความปรารถนาในการทำการรบของทหาร ปัจจัยที่มีผลกระทบกระเทือนต่อประสิทธิภาพในการรบความกลัว ข่าวลือ การตื่นตระหนกตกใจ ความมีน้ำใจในเชิงรุก การฟื้นฟูประสิทธิภาพในการสู้รบ การสนับสนุนหน่วยที่ แยกออกไปปฏิบัติหน้าที่อย่างโดดเดี่ยว ข้อความที่กล่าวเป็นหัวข้ออะไร
ตอบ ความเป็นผู้นำในการรบ
ถาม ปัจจัยที่มีผลกระทบกระเทือนต่อประสิทธิภาพในการรบที่มีผลต่อความสามารถในการทำการรบของหน่วยนั้น คืออะไร
ตอบ ความกลัว ความตื่นตระหนกตกใจ ความท้อใจ ความโดดเดี่ยว และการที่ทหารขาดความเชื่อมั่น ในตัวเอง
ถาม การกลัวเป็นสิ่งยุ่งยากที่จะทำให้ทหารที่มีประสาทตรึงเครียดและมีความตกใจ กลัวเกิดจากปฏิกิริยาการทำงาน ทางเคมีภายในร่างกาย เมื่อเขาต้องตกอยู่ในภาวะตกใจกลัวเป็นเวลาอันยาวนาน ในที่สุดก็อาจจะกลายเป็นคนที่ หมดความสามารถในการสู้รบและขวัญเสีย หรืออาจเป็นอัมพาตไปเลยก็ได้ ทหารสามารถขจัดความกลัวได้ คือ
ตอบ การฝึกที่มีประสิทธิภาพและความมีวินัยเป็นอย่างดี
ถาม การบอกกล่าวกันถึงเรื่องราวต่าง ๆ อันไม่ทราบต้นตอของเรื่องนั้น ๆ โดยแน่นอน ซึ่งสามารถจะแผ่กระจายออก ไปได้อย่างง่ายดาย เรื่องราวต่าง ๆ ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องที่มีเหตุผลตามสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ มักจะแพร่ สะพัดไปได้อย่างรวดเร็ว ข้อความที่กล่าวนั้นหมายถึงอะไร
ตอบ ข่าวลือ
ถาม มาตรการในการควบคุมข่าวลือโดยเฉพาะซึ่งสามารถนำไปใช้กับข่าวลือต่าง ๆ ได้ทุกชนิด คือ
ตอบ ๑. การจัดให้มีโครงการแถลงข่าวที่มีประสิทธิภาพ
๒. จัดให้มีการกระจายข่าวสารเกี่ยวกับแผนการ
๓. ค้นหาและพยายามกำจัดภาวะการณ์
๔. แจ้งเรื่องให้ทหารทราบเกี่ยวกับข่าวลือต่าง ๆ
๕. เสริมสร้างให้ทหารแต่ละคนเกิดความเชื่อมั่นในตัวผู้นำของตน
ถาม การพัฒนาความห้าวหาญในหน่วยทหารนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ
ตอบจะต้องเสริมสร้างความปรารถนาในการเข้าประชิดและทำลายข้าศึกให้เกิดมีขึ้นส่วนใหญ่แล้วการพัฒนาความห้าวหาญจะบรรลุผลสำเร็จได้ก็โดยการจัดให้ทหารได้รับการฝึกอย่างช่ำชอง โดยการอบรมให้ทหารและหน่วยทหารเกิดความเชื่อมั่น
ถาม ประสิทธิภาพในการสู้รบของหน่วยย่อมจะลดลงไปหลังจากที่ได้ปฏิบัติการรบติดต่อกันมาเป็นเวลานานและ ในระหว่างที่อยู่ในห้วงเวลาที่ไม่มีการปฏิบัติการรบ หน่วยต่าง ๆ ที่มีการสูญเสียกำลังทหารและยุทโธปกรณ์ไป เป็นจำนวนมากนั้นย่อมต้องการมีเวลาเข้าไปประจำอยู่เป็นกองหนุนที่จะรอการทดแทนกำลังและการจัด ระเบียบใหม่ ข้อความดังกล่าวหมายถึง
ตอบ การฟื้นฟูประสิทธิภาพในการสู้รบ
ถาม วิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดประการหนึ่งเกี่ยวกับการฟื้นฟูให้หน่วยทหาร ซึ่งประสบความล้มเหลว คือ
ตอบ หน่วยต้องมีการฝึกเพื่อเพิ่มเติม มีการสับเปลี่ยนตัวบุคคลในหน่วย และหน่วยค่อย ๆ ปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ที่ยากลำบากคืบหน้าขึ้นไปที่ละน้อย ๆ ตามลำดับก็ได้
ถาม. เทคนิคและวิธีการฝึก ที่เราเลือกใช้ในการฝึกมุ่งเน้นผลการปฏิบัติ มีกี่ขั้นตอน
ตอบ
ถาม. หลังจากที่ครูฝึกรับแนวทางการวางแผนของ ผบช.ไปแล้ว ต้องมีการเตรียมการของครูฝึก การเตรียมการของครูฝึกนั้นจะดำเนินการอย่างไรต่อไป (มี ๒ ลักษณะที่ต้องทำ )
ตอบ ๑.การกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกตามลำดับขั้น ๒ การกำหนดและการจัดระเบียบการฝึกที่ต้องการ
ถาม. กุญแจหรือหัวใจสำคัญ ของวัตถุประสงค์สำคัญของการฝึกนั้น เขียนเป็นสมการได้ว่าอย่างไร
ตอบ วัตถุประสงค์ = การฝึก = การตรวจสอบ = การประเมินผลการฝึก
ถาม. องค์ประกอบไม่ครบ ๓ ประการแล้ว การฝึกก็ไม่สามารถทำการตรวจสอบได้ เงื่อนไขของการฝึกสภาวะนั้นเป็นอย่างไรหากไม่มีองค์ประกอบที่ ๓ ก็ไม่สามารถวัดระดับความต้องการได้ องค์ประกอบมีอะไรบ้าง
ตอบ ๓ องค์ประกอบ ได้แก่ ๑ กิจเเฉพาะ , ๒. เงื่อนไข , ๓. มาตรฐาน
ถาม. ประโยชน์ของวัตถุประสงค์ของการฝึก มีกี่ประการอะไรบ้าง
ตอบ มี ๓ ประการ คือ ๑. การดำเนินการฝึก , ๒. การตรวจสอบการฝึก , ๓. การประเมินผลการฝึก
ถาม. การกำหนดเรื่องที่จะทำการฝึกนั้น รับมาอย่างไร หลังจากรับแนวทางในการวางแผน เอามาจากไหน ๒ ประการ
ตอบ ๑.การทดสอบ , ๒.การใช้ผลการประเมินผลการฝึกครั้งที่แล้ว
ถาม การเตรียมการและประเมินผล เป็นไปในลักษณะกระบวนการย้อนหลังมีอะไรบ้าง
ตอบ มี ๓ ขั้นตอน ๑.การกำหนดผลการฝึกที่ต้องการ , ๒. การเตรียมการฝึก , ๓. การดำเนินการฝึก
ถาม. ขั้นของการกำหนดผลของการฝึก ที่ต้องการ หลังจากรับแนวทางแล้ว แนวทางวางแผนมีไรบ้าง
ตอบ ๑.แนวทางวางแผนที่แน่นอนชัดเจน , ๒.แนวทางอย่างกว้างๆ
ถาม. การเตรียมการในขั้นที่ ๒ มีอะไรบ้าง งานหลัก ที่ผู้ฝึกต้องกระทำ
ตอบ ๑.การกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกตามลำดับขั้น , ๒.การกำหนดและการจัดระเบียบการฝึกที่ต้องการ
ถาม. ประเภทของการฝึกเป็นหน่วย เป็นหน่วยกับหน่วยทางยุทธวิธี มีอะไรบ้าง
ตอบ ๑.การฝึก จนท.ประจำปืนหรือประจำยุทโธปกรณ์ , ๒.การฝึกเป็นหน่วยทางยุทธวิธี
ถาม. การฝึกเป็นหน่วยทางยุทธวิธีมีไรบ้าง
ตอบ มี ๕ ประเภท คือ ๑.การฝึกภูมิประเทศจำลอง , ๒. การฝึกประกอบภูมิประเทศจริง , ๓.การฝึกทางยุทธวิธีปิดจังหวะ ,๔.การฝึกปัญหาที่บังคับการ ,๕.การฝึกในสนาม
ถาม.การฝึกหัดปฏิบัติ ซ้ำๆ หลายๆ ครั้งเรียกว่าอะไร
ตอบ การฝึกทางยุทธวิธีปิดจังหวะ
ถาม. วัตถุประสงค์ของการฝึกคือข้อใด
ตอบ คือ เป้าหมายหรือแนวทางซึ่ง ผบช.นำมาใช้ในการวางแผนการฝึก
ถาม. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของวัตถุประสงค์
ตอบ กิจเฉพาะ, เงื่อนไข, มาตรฐานการฝึก ( ใช่ )
ถาม. การเตรียมการและการดำเนินการฝึกมีอะไรบ้าง
ตอบ ๓ ประการ คือ ๑.การกำหนดผลการฝึกที่ต้องการ, ๒.การเตรียมการฝึก , ๓.การดำเนินการฝึก
ถาม. ขั้นเตรียมการ คืออะไร
ตอบ ๑.การกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกตามลำดับขั้น , ๒.การกำหนดและการจัดระเบียบการฝึกที่ต้องการ
ถาม. การประเมินผลการฝึก ดูได้จากในลักษณะใด มีสองประการ
ตอบ ดูได้ ๒ ประการ คือ ๑.ประสิทธิผลของการฝึก, ๒.ประสิทธิภาพในการดำเนินการฝึก
ถาม.ประสิทธิผลการฝึกคืออะไร
ตอบ ความสามารถของทหารในการปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ในการฝึกได้ดีเพียงใด
ถาม.หลักพื้นฐานการฝึกเป็นหน่วยทางยุทธ มีอะไรบ้าง
ตอบ ๓ ประการ คือ ๑.การกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึก, ๒.การกวดขันให้ทหารสามารถปฏิบัติกิจเฉพาะที่สำคัญ , ๓.ทำการฝึกเป็นหน่วยหลายระดับพร้อมกัน
ถาม.การฝึกผู้นำหน่วย ฝอ. และ ทหาร แยกฝึกพร้อมกัน เรียกอะไร
ตอบ การฝึกหน่วยหลายระดับพร้อมกัน
ถาม ในกรรมวิธีของการศึกษานั้น การเรียนจะให้ได้ผลดีต้องเรียนผ่านประสาทหลายๆ ทาง ประสาทที่ต้องเรียนผ่านนั้นคือประสาททางใดบ้าง
ตอบ จักษุประสาท,โสตประสาท,นาสิกประสาท,ชิวหาประสาท,กายประสาท
ถาม การใช้ระบบการสอนนั้น ในการสอนหมายถึงวิธีดำเนินการสอนในแบบต่างๆ ซึ่งมีอยู่หลายวิธี อยากทราบว่าวิธีการสอนแบบต่างๆ ที่กล่าวนั้นมีแบบใดบ้าง
ตอบ สอนโดยวิธีบรรยาย,สอนเชิงประชุม,สอนโดยการแสดงให้ด
ถาม การใช้ระบบการสอน ในขั้นการตรวจสอบ เป็นการปฏิบัติการทดสอบผลการเรียนของผู้รับการสอน ในการตรวจสอบนั้นมีวิธีการตรวจสอบได้ดังนี้
ตอบ ทดสอบด้วยปากเปล่า,ทดสอบการปฏิบัติ,ทดสอบด้วยข้อเขียน
ถามในหลักเบื้องต้นของการสอนนั้นจะเป็นเครื่องนำทางให้ครูเลือกใช้วิธีการสอน,อุบายและเทคนิคในการสอน มีหลักดังนี้
ตอบ เร้าความสนใจ,บอกความมุ่งหมาย,เรียนด้วยการปฏิบัติ, เรียนด้วยความสมจริง,เชื่อมพื้นความรู้เดิม,รู้จักใช้คุณค่านำไปใช้ได้ถูกต้อง
ถาม ลักษณะของครูที่ดีมีลักษณะอย่างไร
ตอบ มีความรู้ดี,รู้เทคนิคการสอน,มีบุคลิกดี,มีความเป็นผู้นำ,มีจิตใจเป็นครู
ถาม ในการเตรียมแผนบทเรียนหลังจากประมาณสถานการณ์สอน และตกลงใจว่าจะสอนเรื่องอะไรแล้วครูจะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไป
ตอบ วางความมุ่งหมายไว้ในใจ,รวบรวมสิ่งอุปกรณ์ที่จำเป็น,ทำแผนบทเรียน ซ้อมสอนและแก้ไขแผนบทเรียน,สำรวจการเตรียมงานหรือสอนครั้งสุดท้าย
ถาม ในเรื่องการเตรียมตัวของครูนั้นก่อนจะเริ่มทำการเรียนการสอนนั้นครูจะต้องทราบความรู้พื้นฐานเดิมของผู้รับการสอนด้วยการทดสอบก่อนการเรียนด้วยการทำแบบทดสอบ ในส่วนของครูทหารนั้น ครูจะทราบความรู้พื้นเดิมของทหารได้จากสิ่งได
ตอบ รายการประจำตัว,ผลการศึกษาในโรงเรียน,เวลารับราชการ,ตำแหน่งปัจจุบัน

คลังตำราทหารราบ ศร.

กำลังพล

- คุ่มือกำลังพลในสนาม

- วิชากำลังพล หลักสูตร ส.อาวุโส


ข่าวกรอง

- คู่มือ รส.

เครื่องกีดขวาง

- แนวสอน เครื่อฉีดไฟแบกคนเดียว1 (ปรับรุงเล่มใหม่)

- แนวสอนเครื่องกีดขวาง

- แนวสอนป้อมสนาม ตอนที่1

- แนวสอนหลักสูตรต่างๆ 1

บุคคลท่าอาวุธ แผนที่

- แผนที่เครื่องยิงฯ

- วิชาแผนที่นายพัน

- วิชาแผนที่นายร้อย

- วิชาแผนที่ ส.ยุทธการ

ยานยนต์

- ยน.กศ.ฯ

- วิชายานยนต์

- ส.กศ.ฯ

ยุทธวิธี การป้องกันปราบปราม

- การก่อความไม่สงบในเมือง

- การคุ้มกันขบวนยานยนต์

- การตรวจค้นในพื้นที่ชุมชน

- การตรวจค้นบุคคล

- การต่อต้านการต่อการร้าย

- การฏิบัติการต่อต้านและปราบปรามกองโจร

- การปฏิบัติการเผชิญเหตุในยามสงบ

- การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ

- การลาดตระเวนเฝ้าตรวจ

- การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

- ข้อมูลกลุ่มก่อความไม่สงบ

- ตำราแผนการยิงสนับสนุน

- หมวดวิชาสงครามกองโจร

การรบ

- การกำบัง การหลบซ่อนและการพราง

- การใช้พลฯ ซุ่มยิง

- การดำรงชีพในป่า

- การตรวจการณ์และการค้นหาเป้าหมายพลซุ่มยิง

- การตีโฉบฉวย

- การรบข้ามลำน้ำ

- การรบในสิ่งปลูกสร้าง

- การรบร่วมอากาศ – พื้นดิน

- การรบวิธีร่นถอย ส.อาวุโส 2 (รส.7-8)

- การลาดตระเวนซุ่มโจมตี

- การส่งกำลังทางอากาศ 8 ชม.

- บทที่ 4 การเคลื่อนที่

- วิชาการรบภายใต้สภาพพิเศษ

- หมวดวิชาการแกะและสะกดรอย

- หมวดวิชาการเล็ดลอดหลบหนี

- หลักนิยมการรบอากาศพื้นดิน

หลักการปบ. ทั่วไป

- การจัด ลว.ไกล

- การจัดหน่วย ร.6911, 6912, 6915

- การโอบล้อม

- ฐานลาดตระเวน

- แนวสอน การพราง

- บทที่ 13 การสนับสนุนทางการช่วยรบ

- บทที่ 2 การปฏิบัติการ

- บทที่ 9 การข้ามลำนำและปบ. ทางน้ำ

- ปฏิบัติการสนับสนุนการรักษาสันติภาพ

- ลว.ไกล

- สะกดรอย New Zealand

- หมวดวิชาการปฏิบัติโดยฉับพลัน

- หมวดวิชาการลาดตระเวนหาข่าว

- หมวดวิชาการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด

- หลักการของพลแม่นปืน

- หลักการสงคราม

- หลักปฏิบัติในการรักษาสันติภาพ

- พัน.ร.ในความขัดแย้งระดับต่ำ 1

- ยุทธวิธีฝ่ายตรงข้าม



วัตถุระเบิดและการทำลาย

- แนวสอนกันระเบิด

- แนวสอนทุ่นระเบิด

- แนวสอนวัตถุระเบิด


วิชาครูทหาร

- ตำราผู้นำ ชั้นนายพัน

- ตำราผู้นำ ชั้นนายร้อย

- ตำราวิชาครูทหาร

- บทที่ 1

- บทที่ 3

- บทที่ 4

- บทที่ 5

- ปก

วิชาผู้นำทางทหาร

- ตำราผู้นำ ชั้นนายสิบ

- หลักการทหาร


วิชาภาษาอังกฤษ

- ตำราอังกฤษนายพัน

- ตำราอังกฤษชั้นนายร้อย

- ตำราอังกฤษนายสิบชั้นต้น


อาวุธปืน

จรวดและขีปนาวุธ

- เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง ขนาด 66 มม.

- แนวสอน จรวด ขนาด 80 มม.

- แนวสอนวิชา อาร์ พีจี 7

- แนวสอนวิชา อาร์ พีจี 2

- แนวสอนวิชาอาวุธนำวิถี ดรากอนฯ

- หลักยิง อาร์พีจี

ปรส.

- แนวสอน ปรส. 106 มม. เอ็ม.40 เอ.2

- แนวสอน ปรส. ขนาด 84 มม. แบบ M3

- ปรส. 106

ปืน ค.

- การปรับยิง ค. และ ป.

- ค. 120

- แนวสอน ค. 120 มม.

- แนวสอน ค. อัตโนมัติ ขนาด 40 มม.

- แนวสอน ค. 60 มม.

- แนวสอนวิชา ค.81 มม.

- วิชา ค.เอ็ม.203

- หลักยิง ค.

- หลักยิง ค.81 และ ค.120 มม.

- หลักยิง ค.88 ขนาด 60 มม.

ปืนกล

- แนวสอน วิชาปืนกล 38

- แนวสอน วิชามินิมิ

- แนวสอนวิชา ปก.93

- วิชาปืนกล M 60

- หลักยิงปืนกล เอ็ม 60

ปืน ปลย.

- แนวสอนวิชา ปลย. 11

- แนวสอนวิชา ปลย.เอ็ม.16 เอ.1

- แนวสอนวิชา ปลย.เอ็ม.16 เอ 2

- ปลย. ซุ่มยิง SR – 25

- ปลย.ซุ่มยิง SSG – 3000

ปืนพก

- แนวสอนวิชา ปืนพก แบบ 86 ขนาด .45 นิ้ว

หลักการ

- กล้องตรวจการณ์กลางคืน

- การใช้ POCKET COMPUTER SHARP PC

- การตรวจการณ์ และการค้นหาเป้าหมายพลซุ่มยิง

- แนวสอนอาวุธต่างปรเทศ

- แนวสอนอาวุธนำวิธีโทว์

- แนวสอนเอกสารเพิ่มเติมอาวุธต่างระเทศ

- วิชา การใช้เครืองคำนวณ CASIO

- หลักการของพลแม่นยำ

- หลักกการยิง ปล.และการยิงเป็นหมู่

- หลักยิงเครื่องยิงฯ

- อาวุธศึกษา


วิชาการสื่อสาร

เรื่อง การสื่อสารทางวิทยุ

- การสื่อสารทางวิทยุ

เรื่อง การสือสารทางสาย

- การสื่อสารทางสาย

เรื่อง การสื่อสารในเหตุการณ์ทางยุทธวิธี

- การใช้การสื่อสารทางยุทธวิธีของกองพัน และ กรม

- การสื่อสารทางยุทธวิธี

เรื่อง นปส. และ นสป.

- นปส

- นปส. และการ รปภ.ส.

- นสป.

ลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือก

---------------------------------------ลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือก-ลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือก--------------

ลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือก
ลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือก

ราชการสนาม (รส)

- การลาดตระเวน ส. (รส.7-8)

- การลาดตระเวน ส. อาวุโส (รส.7-8)

- รส.7-8 การลาดตระเวน

- การยุทธโจมตีทางอากาศ รส.90-4

- การรบด้วยวิธีรับ อาวุโส (รส.7-8)

- การรบด้วยวิธีรุก ส.อาวุโส (รส.7-8)

- รส.7-8 การรบด้วยวิธีรับ

- รส.7-8 การรบด้วยวิธีรุก

- รส.7-8 การรบวิธีร่นถอย

- รส.7- 8 ว่าด้วย หมู่ หมวดปืนเล็กทหารราบ

- รส. 7- 10 ว่าด้วยกองร้อยอาวุธเบา

- รส. 7- 30 ว่าด้วยกรมทหารราบ

- รส. 7- 92 ว่าด้วยการใช้งานทายุทธวิธีช่องหมวด ลว.กองพันทหารราบ

- รส. 7- 20 ว่าด้วยกองพันทหารราบ

- รส. 7- 30 ว่าด้วยกรมทหารราบ

- รส. 7- 70 ว่าด้วยหมู่ หมวด ทหารราบเบา

- รส. 7- 90 ว่าด้วยการใช้ ค. ทางยุทธวิธี

- รส. 21- 18 ว่าด้วยการเดินทางด้วยเท้า

- รส. 101- 5 (การจัดและดำเนินงานของฝ่ายอำนวยการ)2548

- รส. 23- 68 ว่าด้วยปก.38 เอ็ม.240 ขนาด 7.62 มม.

- รส. 25- 100 ว่าด้วยการฝึกกำลังทหาร

- รส. 25- 101 ว่าด้วยการฝึกที่เน้นการรบ

- รส. 71- 2 ว่าด้วยพันทหารราบยานเกราะ

- รส. 71- 3 ว่าด้วยกรมทหารราบยานเกราะ


คู่มือฝึก (คฝ)

- คฝ.7-8 (การกวาดล้างคู่ติดต่อ)

- คฝ.7-8 (การสร้างเครื่องกีดขวาง)

- คฝ.7-8 (ตั้งรับ)

- คฝ.7-8 (ทำลายบังเกอร์)

- คฝ.7-8 (เสริมความมั่นคงและจัดระเบียบใหม่)

- คฝ.7-8 (การโจมตี, ตะลุมบอน)

- คฝ.7-8 (การดำเนินกลยุทธ)

- คฝ.7-8 (การผละออกจากการปะทะ)

- คฝ.7-8 (การยิงสนับสนุน)

- คฝ.7-8 (การระวังป้องกันขณะปฏิบัติการ)

- คฝ.7-8 (การเตรียมการรบ, การ ปบ.ที่รวมพล)

- คฝ.7-8 (การเข้าวางตัว ณ จุดเตรียมเข้าที่หมาย)

- คฝ.7-8 (การเดินทางด้วยเท้า)

- คฝ.7-8 (การปฏิบัติในที่รวมพล)

- คฝ.7-8 (การปฏิบัติเพื่อความต่อเนื่อง)

- คฝ.7-8 (การผ่านช่องบังคับ)

- คฝ.7-8 (การผ่านพื้นที่อันตราย)

- คฝ.7-8 (การเตรียมการรบ)

- คฝ.7-8 (การปฏิบัติในที่รวมพล)

- คฝ.7-10 ว่าด้วยการฝึกหน่วยระดับกองร้อย

- คฝ.7- 11 ว่าด้วยการฝึกความชำนาญการทางทหาร

- คฝ.7- 20 ว่าด้วยการฝึกและการประเมินผลการฝึกกองพันทหารราบ

- คฝ.7- 90 ว่าด้วยการฝึกสำหรับ หมู่ ตอนและหมวด เครื่องยิงลูกระเบิด

- คฝ.7- 92 ว่าด้วยการจัดการฝึก หมู่ และหมวด ลว.

- คฝ.21- 1 การฝึกเฉพาะหน้าที่ระดับพลทหารและสิบตรีกองประจำการ

- คฝ.23- 11 ว่าด้วยการฝึกยิงปืนเล็กยาว

- คฝ.100- 20 ว่าด้วยการ ปปส. ลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือก
ลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือกลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือก ลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือก ลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือกลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือกลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือก ลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือกลบการจัดรูปแบบจากส่วนที่เลือก